2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

54 2) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่สร้างขึ้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content Validity) ดำเนินการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ตรวจสอบความเหมาะสมของแบบสัมภาษณ์ ทั้งทางด้านภาษาและเนื้อหาสาระ โดยพิจารณาให้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ กำหนดไว้ (พรเพ็ญ เพชรสุขสิริ, 2540) และนำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of congruence: IOC) เพื่อพิจารณาคุณภาพของข้อคำถาม ซึ่งกำหนดให้ข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความ สอดคล้อง (IOC) มีค่าระหว่าง 0.6 ถึง 1.00 ซึ่งหมายถึงข้อคำถามจากแบบสอบถามในการศึกษาครั้ง นี้มีคุณภาพที่เหมาะสม มีความถูกต้องด้านโครงสร้างเนื้อหา ภาษา และสามารถวัดในสิ่งที่จะวัดได้ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3) ปรับปรุงแก้ไขแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ 4) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content of Validity) ยื่นต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้รับการรับรองแล้วตาแนวทาง หลักจริยธรรมการวิจัยในคนที่เป็นมาตรฐานสากล ได้แก่ Declaration of Helsinki, The Belmont Report, CIOMS Guideline แ ล ะ International Conference on Harmonization in Good Clinical Practice หรือ ICH-GCP ตามใบรับรองที่ COA No. TSU 2023_110, REC No.0260 เมื่อ ได้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีความเชื่อมั่นแล้ว นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างไปเก็บข้อมูล เพื่อดำเนินการวิจัย โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ไปทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยตนเอง และเก็บรวบรวมข้อมูลตามประเด็นข้อ คำถามที่กำหนดไว้ในแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างต่อไป เมื่อได้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีความเชื่อมั่นแล้ว นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ไปเก็บข้อมูลเพื่อดำเนินการวิจัย โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ไปทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยตนเอง และเก็บรวบรวมข้อมูลตาม ประเด็นข้อคำถามที่กำหนดไว้ในแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างต่อไป 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยมีลำดับขั้นตอนในการ วิเคราะห์ดังนี้ 1. ผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยนำคำสัมภาษณ์ โดยนำคำสัมภาษณ์ หรือ บันทึกสัมภาษณ์จากผู้ถูกสัมภาษณ์มาเปรียบเทียบระหว่างแต่ละบุคคล และจัดลำดับความสำคัญและ คุณลักษณะของข้อมูล 2. นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ที่จัดลำดับความสำคัญแล้ว นำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลทาง เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะได้ทราบถึง ลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันของข้อมูลทำให้เกิดความสัมพันธ์และเกิดเป็นแนวคิด ย่อย ๆ ขึ้น 3. นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และจากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และนำไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน แสดงความสำคัญของข้อมูลได้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์และการเขียนรายงานข้อมูลที่ได้จากการศึกษา จะเป็นข้อมูล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3