2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

56 บทที่ 4 ผลการวิจัย ประเทศไทย มีโรงรับจำนำที่เปิดดำเนินการโดยภาครัฐและภาคเอกชน โดยสามารถแบ่งออกได้ เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) สถานธนานุเคราะห์ เป็นโรงรับจำนำรัฐบาลสังกัดกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2) สถานธนานุบาล เป็นโรงรับจำนำ รัฐบาลที่มาจาก 2 หน่วยงาน ได้แก่ โรงรับจำนำของกรุงเทพมหานคร และโรงรับจำนำขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดต่าง ๆ 3) โรงรับจำนำเอกชน ดำเนินงานโดยเอกชน ซึ่งโรงรับจำนำถือ ได้ว่าเป็นแหล่งเงินทุนที่ให้บริการแก่ผู้มีรายได้น้อย หรือมีปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียน แต่การพัฒนา กิจการโรงรับจำนำค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นโรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเทศบาล เป็นการอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นในการ ประกันหนี้ด้วยทรัพย์ โดยเสียอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้ยืมจากสถาบันการเงินอื่น ปัญหาของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนใน ประเทศ และมีผลต่อการต่อการดำเนินการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประเด็น ที่ต้องศึกษาค้นคว้าและหาคำตอบเพื่อพัฒนาโรงรับจำนำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น โดยมีประเด็นปัญหาที่สำคัญ 3 ประการด้วยกัน คือ ประการแรกกรณีเกี่ยวกับโครงสร้างการกำกับ ดูแลสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการ บริหารจัดการตนเองน้อยเกินไป โดยไม่สามารถวางระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนด อัตราดอกเบี้ยและการขยายระยะเวลาในสัญญาจำนำได้ จึงส่งผลต่อการพัฒนาโรงรับจำนำ ประการที่ สองกรณีเกี่ยวกับการบริการประชาชนในการรับจำนำ การส่งดอกเบี้ย และการไถ่ถอนของสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันและสังคมดิจิทัล ประการที่สาม กรณีเกี่ยวกับกระบวนการขายทอดตลาดของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของประชาชนในสังคมดิจิทัล ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อ ประชาชนในประเทศซึ่งเป็นผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนในการเลี้ยงชีพ และยังส่งผลถึง ธุรกิจขนาดย่อมในชุมชนท้องถิ่นที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ การศึกษามีวัตถุประสงค์วิเคราะห์เพื่อหาคำตอบ ให้องค์กรปกครองส่วนถิ่นมีอำนาจในการ บริหารจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนถิ่นในเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน รวมถึงแนวทางการบริการประชาชนของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้อง เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และสอดคล้องกับสังคมดิจิทัล การวิเคราะห์ได้ใช้ข้อมูลจากการ ทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การ ปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนใน ประเทศ ได้กำหนดประเด็นที่วิเคราะห์ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3