2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

57 4.1 วิเคราะห์โครงสร้างการกำกับดูแลสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นโรงรับจำนำของรัฐ อยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลของสำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเทศบาล มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือ สถานสินเชื่อท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (รวมทั้งที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2543) จึงก่อกำเนิดโรงรับจำนำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเทศบาลจึงมีฐานะเป็นเจ้าของสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่จากการศึกษาพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ เทศบาลยังมีอำนาจในการบริหารจัดการสถานธนานุบาลที่จำกัด เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการ จัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จ.ส.ท.) มีอำนาจวางระเบียบ ข้อบังคับ หรือ ออกคำสั่งให้พนักงานสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติ ส่งผลให้บางกรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเทศบาลต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการจัดการ สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ จ.ส.ท. สถานธนานุบาลจึงประสบปัญหาในการ ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างจากอัตราดอกเบี้ยที่สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด โดยต้องขอทำความตกลงกับสำนักงาน คณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกรณีพิเศษก่อนการปฏิบัติ ตามหนังสือสั่งการเรื่องมาตรการช่วยเหลือประชาชนในช่วงเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2566 ทำให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะเจ้าของสถานธนานุบาลไม่มีอำนาจเด็จขาดในการปรับเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในท้องถิ่น ซึ่งการต้องขอความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนการปฏิบัติทำให้ เกิดความล่าช้าในการช่วยเหลือประชาชน นอกจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นพบจากเหตุอุทกภัยปี พ.ศ.2562 สำนักงานคณะกรรมการ จัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ออกหนังสือสั่งการให้สถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขยายระยะเวลาในตั๋วรับจำนำเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความ เดือดร้อนจากเกิดเหตุอุทกภัยในเขตพื้นที่ โดยผ่อนผันหรือยืดระยะเวลาชำระหนี้แก่ผู้จำนำในห้วง เดือนกันยายน ถึงตุลาคม 2562 ให้ขยายระยะเวลาไถ่ถอนทรัพย์จำนำไปอีกระยะเวลาหนึ่งเดือนนับ จากวันครบกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย (สี่เดือนสามสิบวัน) เห็นได้ว่าต้องได้รับหนังสือสั่งการจาก สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนจึงจะขยาย ระยะเวลาในตั๋วจำนำตามที่สำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นกำหนดเท่านั้นตามหนังสือสั่งการเรื่องมาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้บริการ โรงรับจำนำในภาวะเกิดเหตุอุทกภัย จากกรณีดังกล่าวทำให้เกิดความล้าช้าในทางปฏิบัติส่งผลกระทบ ต่อประชาชนผู้ใช้บริการ ส่วนการขยายระยะเวลาในตั๋วจำนำอันเนื่องมาจากความต้องการขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเทศบาล เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินของประชาชนไม่ สามารถกระทำได้ เนื่องจากการขยายระยะเวลาในตั๋วจำนำเป็นอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการ จัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดเท่านั้น ทำให้องค์กรปกครอง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3