2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

58 ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของสถานธนานุบาลไม่สามารถดำเนินการผ่อนผันขยายระยะเวลาในตั๋วจำนำ เพื่อช่วยเหลือประชาชนตามเหตุผลความจำเป็นในท้องถิ่นได้ ส่งผลให้ผลกระทบต่อประชาชน ผู้ใช้บริการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แสดงให้เห็นว่าสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานที่มีความจำเป็น กับประชาชนในท้องถิ่นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่ต้องการเงินทุนมาหมุนเวียนใน ธุรกิจขนาดย่อมของตนเอง โดยเสียอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินประเภทอื่น ดังนั้น การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้างการกับดูแลสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนถิ่น จึงสมควรได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น โดยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการส่งเสริมการ ดำเนินงานกิจการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2546 ควรต้องปรับปรุงโดย เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนถิ่น หรือเทศบาล ในการกำหนดนโยบายออกระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการประชาชน โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงาน คณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนการปฏิบัติ จากการศึกษาโครงสร้างการกำกับดูแลโรงรับจำนำในสหพันธรัฐมาเลเซีย การกำกับดูแลเป็น หน้าที่กระทรวงการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น ( KPKT) รัฐมนตรีกระทรวงมีอำนาจแต่งตั้งและ ถอดถอน นายทะเบียน (Registrar) รักษาการแทนนายทะเบียน (Deputy Registra) ผู้ตรวจ (Inspector) และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่บังคับใช้ระเบียบและข้อบังคับภายใต้กฎหมายฉบับนี้ เห็นได้ว่าโรงรับจำนำในสหพันธรัฐมาเลเซีย มีหน่วยงานที่กำกับดูแลใกล้เคียงกับประเทศไทย โดย กฎหมายให้อำนาจกระทรวงการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กำกับดูแล ส่วนโครงสร้างการกำกับดูแลโรงรับจำนำในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ พบว่าการกำกับดูแลเป็นหน้าที่ ธนาคารกลางแห่งประเทศฟิลิปปินส์ (Bangko Sentral ng Pilipinas: BSP) โดยมีอำนาจออกกฎและ ระเบียบข้อบังคับ ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้อำนาจสามารถตรวจเยี่ยมกิจการ โรงรับจำนำตามที่จำเป็น และกำหนดบทลงโทษทางปกครอง รวมถึงกำหนดค่าปรับสำหรับการละเมิด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อบังคับของธนาคารกลางแห่งประเทศฟิลิปปินส์ เห็นได้ว่าโครงสร้างการ กำกับดูแลโรงรับจำนำในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีหน่วยงานที่กำกับดูแลต่างจากประเทศไทย โดย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์กฎหมายให้อำนาจหน่วยงานทางเศรษฐกิจการเงินเป็นผู้กำกับดูแล ส่วนโครงสร้างการกำกับดูแลโรงรับจำนำในมลรัฐโอเรกอนของสหรัฐอเมริกา พบว่าการกำกับ ดูแลเป็นหน้าที่กรมบริการผู้บริโภคและธุรกิจ (Department of Consumer and Business Services) ผู้อำนวยการกรมบริการผู้บริโภคและธุรกิจเป็นผู้รักษาการและบังคับใช้กฎหมายนี้ และ สามารถออกข้อกำหนดและกฎขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อบังคับใช้กับการดำเนินการโรงรับจำนำ ทั้งนี้ ก่อนที่จะบังคับใช้ข้อกำหนดและกฎ จะต้องจัดทำสำเนาข้อกำหนดและกฎให้ผู้ประกอบกิจการ โรงรับจำนำทุกราย เห็นได้ว่าโครงสร้างการกำกับดูแลโรงรับจำนำในมลรัฐโอเรกอนของสหรัฐอเมริกา มีหน่วยงานที่กำกับดูแลต่างจากประเทศไทย โดยมลรัฐโอเรกอนของสหรัฐอเมริกากฎหมายให้อำนาจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคและธุรกิจ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลธุรกิจในระดับมลรัฐ ผลจากสัมภาษณ์กลุ่มหน่วยงานภาครัฐฝ่ายบริหาร และกลุ่มหน่วยงานภาครัฐฝ่ายปฏิบัติการ ใน ประเด็นเกี่ยวกับโครงสร้างการกำกับดูแลสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่ เห็นว่าเทศบาลซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะเจ้าของสถานธนานุบาล ควรมีอำนาจใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3