2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

60 คณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเพียงที่ปรึกษาขอความเห็น เท่านั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ จะเป็นการขจัด อุปสรรคที่เป็นปัญหาต่อการพัฒนาสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างคล่องตัว 4.2 วิเคราะห์การบริการประชาชนของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การดำเนินงานของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับกระบวนการรับจำนำ นั้นเป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติ โรงรับจำนำ พ.ศ.2505 และระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 เกี่ยวกับการรับจำนำ การไถ่ถอน และการส่งดอกเบี้ย ดังนี้ 1) การรับจำนำ และการไถ่ถอน จากการศึกษาพบว่า การบริการประชาชนในการรับจำนำ และการไถ่ถอน ของสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันและสังคมดิจิทัล โดยระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์ หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 ได้กำหนดระยะเวลาเปิด ทำการของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่เวลา 08.00 น.-16.00 น. พบว่าไม่ สอดคล้องกับเวลาเลิกงานของประชาชน ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ต้องการมาจำนำ และมาไถ่ถอน ซึ่งไม่สามารถมาได้ในระยะเวลาทำการดังกล่าว นอกจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นพบว่า พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 มี ข้อกำหนดในเรื่องวันครบกำหนดการรับจำนำ มีกำหนด 4 เดือน และผ่อนผันให้อีก 30 วัน เป็น ระยะเวลาที่น้อยเกินไป ไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพสูงขึ้น ประชาชนมีรายจ่ายมาก ขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้จำนำที่มีรายได้น้อย หาเงินไม่ทัน จนกระทั้งไม่สามารถดำเนินการ ไถ่ถอนทรัพย์จำนำได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด ประกอบกับพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 และระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วย การรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 ได้กำหนดวงเงินการรับจำนำถูกจำกัดอยู่ที่ 100,000 บาทต่อ ตั๋วหนึ่งใบ ซึ่งไม่สอดคล้องกับมูลค่าทรัพย์สินที่มีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนผู้ใช้บริการไม่สามารถ ใช้วงเงินสูงสุดที่ได้จากการประเมินราคารับจำนำดังกล่าวได้ เมื่อพิจารณาการบริการประชาชนในการรับจำนำของประเทศสหพันธรัฐมาเลเซียมี กฎหมาย คือ พระราชบัญญัติ Pawnbroker Act 1972 และที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี AD 2006 พบว่าโรงรับจำนำเปิดทำการตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 18.00 น. เห็นได้ว่าระยะเวลาเปิดทำการในการ บริการประชาชนของโรงรับจำนำในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซียมากกว่าเวลาทำการของสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนวันครบกำหนดการรับจำนำ ผู้จำนำต้องมาไถ่ถอน ทรัพย์จำนำภายในระยะเวลา 6 เดือน เห็นได้ว่าระยะเวลาวันครบกำหนดการรับจำนำมากกว่า ระยะเวลาวันครบกำหนดการรับจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนวงเงิน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3