2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

62 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปิดทำการวันเสาร์ด้วย โดยให้เหตุผลว่า เป็นวันหยุดของประชาชน สามารถเดินทางมาจำนำได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องลางานมาเพื่อจำนำ ส่วนกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ฝ่ายบริหาร และกลุ่มหน่วยงานภาครัฐฝ่ายปฏิบัติการและกลุ่มภาคประชาชนในประเด็นเกี่ยวกับ ข้อกำหนดวงเงินรับจำนำต่อตั๋ว 1 ใบ ไม่เกิน 100 ,000 บาท ทุกภาคส่วนเห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับ ข้อกำหนดวงเงินรับจำนำดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเป็นจำนวนเงินที่น้อยเกินไป ไม่เหมาะสมกับ ทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ต้องการใช้เงินมากกว่า 100,000 บาท ดังนั้นเห็นว่า การให้บริการประชาชนในการรับจำนำและไถ่ถอนของสถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน เห็นควรปรับเปลี่ยน ระยะเวลาเปิดทำการ เป็นตั้งแต่เวลา 08.00น.-17.00น. จะเป็นเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และใน ส่วนข้อกำหนดวันครบกำหนดการรับจำนำ สมควรเพิ่มเติมข้อกำหนดให้วันครบกำหนดการรับจำนำ ให้มากขึ้นกว่าเดิม คือ กำหนดอายุสัญญาจำนำไว้ที่ 5 เดือน และผ่อนผันให้อีก 30 วัน อีกทั้งในส่วน วงเงินการรับจำนำควรกำหนดเงื่อนไขวงรับจำนำต่อตั๋วหนึ่งใบไม่เกินตามอัตราที่กฎกระทรวงกำหนด 2) การส่งดอกเบี้ย การส่งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นตามสัญญาในตั๋วจำนำ เป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 และระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการ จำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 จากการศึกษาพบว่า สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นโรงรับจำนำ ของรัฐต้องปฏิบัติตามภายใต้หลักเกณฑ์การคิดอัตราดอกเบี้ยรับจำนำตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ซึ่งกำหนดไว้ว่า เงินต้นไม่เกิน 2,000 บาท ร้อยละ 2 ต่อเดือน เงินต้นส่วนที่เกิน 2,000 บาท ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน แล้วยังต้องปฏิบัติตามหนังสือสั่งการของคณะกรรมการจัดการสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ว่า สำหรับผู้มาใช้บริการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2566 ใช้อัตราดอกเบี้ย ดังนี้ เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0.50 ต่อเดือน และเงินต้นเกินกว่า 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน เห็นได้ว่า อัตราดอกเบี้ยรับจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยรับ จำนำตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 แต่เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มากว่าอัตราการกู้ยืมทั่วไป ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดไว้ไม่ให้เกินร้อยละ 7.5 ต่อปี ข้อกำหนดดังกล่าวไม่เหมาะสม กับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ประชาชนมีค่าครองชีพที่สูงขึ้น เห็นได้ว่าข้อกำหนดเกี่ยวกับการส่งดอกเบี้ยของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน พบว่ามีแต่เพียงข้อกำหนดเกี่ยวกับการคิดอัตราดอกเบี้ยรับจำนำเท่านั้น ยังไม่ มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับชำระดอกเบี้ยผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ประการใด ซึ่งการส่งดอกเบี้ย ในปัจจุบันประชาชนผู้ใช้บริการต้องเดินทางมาส่งดอกเบี้ยที่สถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ไม่สะดวกในการเดินทาง ไม่สอดคล้องกับการดำเนิน ชีวิตของประชาชนในสังคมดิจิทัล สำหรับการส่งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นตามสัญญาในตั๋วจำนำของประเทศสหพันธรัฐมาเลเซียมี กฎหมาย คือ พระราชบัญญัติ Pawnbroker Act 1972 และที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี AD 2006 พบว่าโรงรับจำนำในสหพันธรัฐมาเลเซียห้ามโรงรับจำนำคิดอัตราดอกเบี้ยรับจำนำสูงกว่าอัตราที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3