2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
64 ประชาชนผู้ใช้บริการสามารถดำเนินการชำระดอกเบี้ยผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้ โดยมีข้อเสนอแนะ อื่นว่า สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีช่องทางชำระดอกเบี้ยผ่านแอปพลิเคชัน ธนาคาร หรือสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรดำเนินการให้มีแอปพลิเคชันเป็น ของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง เพื่อความสะดวกในการชำระดอกเบี้ยของ ประชาชนผู้ใช้บริการ ดังนั้นเห็นว่า การให้บริการประชาชนในการส่งดอกเบี้ยของสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดการนำระบบการให้บริการในรูปแบบดิจิทัล เห็นควรให้ประชาชนสามารถ ดำเนินการส่งดอกเบี้ยผ่านระบบแอปพลิเคชันของธนาคารได้ จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในยุค สังคมดิจิทัล ดังนั้นเห็นว่าควรให้สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำระบบดิจิทัลมา ดำเนินการในการบริการประชาชนโดยทำให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรมผ่านทางช่องทางอื่นได้ เช่น ผ่านระบบแอปพลิเคชันของธนาคาร ก็จะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน 4.3 วิเคราะห์กระบวนการขายทอดตลาดของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น การดำเนินงานของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับกระบวนการ ขายทอดตลาดนั้นเป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 กฎกระทรวงที่ออกตาม พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 และระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอน ทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 จากการศึกษาพบว่าการ การดำเนินการกับบัญชีทรัพย์จำนำที่ผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ยเป็น เวลากว่า 4 เดือน เป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 และกฎกระทรวงที่ออกตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว กล่าวคือ สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการแจ้ง เตือนประชาชนผู้ขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลากว่า 4 เดือน โดยวิธีการปิดประกาศ ณ ที่เปิดเผยที่ โรงรับจำนำ ซึ่งการปิดประกาศดังกล่าวแต่เพียงช่องทางเดียว ส่งผลกระทบต่อประชาชนในการรับรู้ ข่าวสารที่ไม่ทั่วถึง นอกจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นพบว่า ระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 ได้กำหนดขั้นตอนการขายทอดตลาดของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการโดยวิธีการประมูล แต่ไม่กำหนดเรื่องสถานที่ทำการประมูลแต่ประการใด ซึ่ง ในทางปฏิบัติจะดำเนินการประมูลขายทอดตลาด ณ ที่ทำการของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นแต่เพียงช่องทางเดียว ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ต้องการประมูลแต่ไม่สะดวกในการ เดินทางมาร่วมประมูลในวันและเวลาที่สถานธนานุบาลกำหนดได้ สำหรับการขายทอดตลาดทรัพย์จำนำของประเทศสหพันธรัฐมาเลเซียมีกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติ Pawnbroker Act 1972 และที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี AD 2006 และกฎกระทรวง ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว พบว่าประเทศสหพันธรัฐมาเลเซียกำหนดให้โรงรับจำนำ สามารถใช้วิธีการขายทอดตลาดทรัพย์หลุดจำนำได้ หากทรัพย์หลุดจำนำนั้นมีมูลค่ามากกว่า 200 ริง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3