2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
68 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล การวิจัยเรื่องการพัฒนากฎหมายว่าด้วยสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาโครงสร้างการกำกับดูแลและการบริการประชาชนเกี่ยวกับสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยศึกษารูปแบบของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในประเทศโดยสอดคล้องกับสังคมดิจิทัลและสภาวะ เศรษฐกิจปัจจุบัน โดยขอบเขตการศึกษาด้านเนื้อหาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ กฎหมายต่างๆ และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง หนังสือ บทความ ผลงานทางวิชาการ การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและ ต่างประเทศ จากการศึกษาการพัฒนากฎหมายว่าด้วยสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ปัญหาของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในประเทศ และมีผลต่อการต่อการดำเนินการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีประเด็นปัญหาที่ สำคัญ 3 ประการด้วยกัน คือ ประการแรกกรณีเกี่ยวกับโครงสร้างการกำกับดูแลสถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ เทศบาล ในการบริหาร จัดการตนเองน้อยเกินไป จึงส่งผลต่อการพัฒนาโรงรับจำนำ ประการที่สองกรณีเกี่ยวกับการบริการ ประชาชนในการรับจำนำ การส่งดอกเบี้ย และการไถ่ถอนของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันและสังคมดิจิทัล ประการที่สาม กรณีเกี่ยวกับ กระบวนการขายทอดตลาดของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สอดคล้องกับ พฤติกรรมของประชาชนในสังคมดิจิทัล ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อประชาชนในประเทศซึ่งเป็นผู้ มีรายได้น้อยที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนในการเลี้ยงชีพ และยังส่งผลถึงธุรกิจขนาดย่อมในชุมชน ท้องถิ่นที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ ซึ่งปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนถิ่นยังไม่มี อำนาจในการบริหารจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนถิ่นในเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ ต่อประชาชนรวมถึงยังไม่มีแนวทางการบริการประชาชนของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และสอดคล้องกับสังคมดิจิทัล ซึ่งสามารถ อภิปรายผลการวิจัยได้ในหัวข้อต่อไป 5.2 อภิปรายผล จากการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในเรื่องการพัฒนากฎหมายว่าด้วยสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าโครงสร้างการกำกับดูแลสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานกิจการสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 พบว่าองค์กรปกครองส่วนถิ่นยังไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการ สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนถิ่นในเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3