2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ
69 ระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุด จำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 พบว่าการบริการประชาชนของ สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และไม่ สอดคล้องกับสังคมดิจิทัล ทางผู้วิจัยจึงได้ศึกษาและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับ โครงสร้างการกำกับดูแลสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริการประชาชน ของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้ 1) โครงสร้างการกำกับดูแลสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่าสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีโครงสร้างการกำกับ ดูแลองค์กรที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งขาดการ กระจายอำนาจอย่างแท้จริง การออกระเบียบข้อบังคับเรื่องอัตราดอกเบี้ยรับจำนำ และวันครบ กำหนดในสัญญาจำนำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ หากไม่ได้รับ ความเห็นชองจากสำนักงานคณะกรรมการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จ.ส.ท.) เนื่องจากการออกระเบียบข้อบังคับต่างๆ เป็นอำนาจของ จ.ส.ท ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่า ด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานกิจการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2546 ซึ่ง ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 250 กำหนดไว้ว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจดูแลและจัดทำบริการสาธารณะ ประกอบกับ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (รวมทั้งที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2543) กำหนดให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อ ท้องถิ่น การดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้บริการประชาชนได้รับ การบริการสาธารณะที่ดีได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ตรงตามเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (รวมทั้งที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2543) ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการแก้ไขระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานกิจการ สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2546 โดยการกำหนดให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการวางระเบียบ ข้อบังคับ หรือออกคำสั่งเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยรับจำนำ และการขยายระยะเวลาในสัญญาจำนำให้พนักงานของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นถือปฏิบัติได้ หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ จะเป็น การขจัดอุปสรรคที่เป็นปัญหาต่อการพัฒนาสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่าง คล่องตัว 2) การบริการประชาชนของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (1) การรับจำนำ และการไถ่ถอน จากการศึกษาพบว่า การให้บริการประชาชนในการรับจำนำและไถ่ถอนของ สถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยปัจจุบันเวลาเปิดทำการของสถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และวันครบกำหนดการรับจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 และระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับ จำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 ยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งไม่สอดคล้องกับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3