2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

70 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 250 มีสาระสำคัญว่า องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบกับแนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์จัดตั้ง เพื่อให้บริการเงินกู้แก่ประชาชนให้มี โอกาสได้นำเงินไปใช้สอยบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าหรือนำไปลงทุนในกิจการขนาดย่อมได้ โดยไม่ต้องไปกู้เงินจากเอกชนซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง เพื่อเป็นการตรึงอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมใน ท้องตลาดไม่ให้สูงจนเกินไป จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 โดยการปรับเปลี่ยนระยะเวลาเปิดทำการ เป็นตั้งแต่เวลา 08.00 น.-17.00 น. จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และในส่วนข้อกำหนดวันครบกำหนดการรับจำนำ กำหนดไว้ 4 เดือน และผ่อนผันให้อีก 30 วัน ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 โดย ไม่ต้องมีการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด แต่สมควรดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ สำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของ สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 โดยเพิ่มเติมข้อกำหนดให้วันครบ กำหนดการรับจำนำให้มากขึ้นกว่าเดิม คือ กำหนดอายุสัญญาจำนำไว้ที่ 5 เดือน และผ่อนผันให้อีก 30 วัน อีกทั้งในส่วนวงเงินการรับจำนำเห็นควรให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 โดยไม่ต้องระบุวงเงินรับจำนำไว้ในพระราชบัญญัติแต่ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง เพื่อให้เกิดความ คล่องตัวในการออกข้อบังคับเพื่อให้เป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ จึงเห็นควรไม่ต้องกำหนดวงเงินรับ จำนำไว้ในระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่าย ทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 แต่ให้วงเงินรับจำนำ เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ เกิดความคล่องตัวในการออกข้อบังคับเพื่อให้เป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ และการมีข้อจำกัดวงเงินการ รับจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นโรงรับจำนำของรัฐ ข้อกำหนด ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึง เพราะสถานธนานุบาลมี วงเงินในการรับจำนำที่จำกัด สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องบริหารจัดการเงินที่ ใช้ในการรับจำนำกระจายสู่ประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึง หากสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ จะเป็นการขจัดอุปสรรคที่เป็นปัญหา ต่อการพัฒนาสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการบริการประชาชนของสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) การส่งดอก จากการศึกษาพบว่าการให้บริการประชาชนในการส่งดอกเบี้ยของสถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยปัจจุบันการส่งดอกเบี้ยยังไม่มีการกำหนดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ไว้ใน พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 และระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอน ทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 เพื่อรับการชำระดอกเบี้ยจากประชาชน ซึ่งเป็นการไม่ตอบสนองต่อความต้องการของ ประชาชนและไม่สอดคล้องกับดิจิทัล โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3