2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

71 พ.ศ. 2566 – 2570 มีใจความสำคัญว่า การพัฒนาข้อมูลและบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ ประชาชนและภาคธุรกิจ สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็วและประหยัด เพื่อให้สามารถให้บริการ สาธารณะที่มีคุณภาพได้อย่าง มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเท่าทันต่อ ความต้องการและความคาดหวังของ ประชาชนและทุกภาคส่วน ประกอบกับภายใต้แผนพัฒนา รัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการรัฐ ในการบริการประชาชน มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล ภาครัฐ เพื่อการบริหารงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และขยายสู่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ ที่ 2: พัฒนาบริการที่สะดวกและเข้าถึงง่าย ดังนั้นเห็นว่าหากมีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 ด้วยเหตุผลจากหลักการที่กล่าวมา ดังนั้นเห็น ว่า การให้ประชาชนสามารถดำเนินการส่งดอกเบี้ยผ่านระบบแอปพลิเคชันของธนาคารได้ จะเป็น ประโยชน์ต่อประชาชนในยุคสังคมดิจิทัล และหากมีการแก้ไขระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับ จำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 เท่านั้น ให้สามารถดำเนินการผ่านทางช่องทางอื่นได้ เช่น ผ่านระบบ แอปพลิเคชันของธนาคาร ก็จะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน หากสถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ จะเป็นการขจัดอุปสรรคที่เป็น ปัญหาต่อการพัฒนาสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการบริการประชาชนของ สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) การขายทอดตลาดของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า การดำเนินการขายทอดตลาดของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 และระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการ รับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 ยังขาดการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการแจ้งเตือนประชาชน ก่อนการประมูลขายทอดตลาด ซึ่งไม่สอดคล้องกับสังคมดิจิทัล โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 58 กำหนดไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ ในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570 การพัฒนาข้อมูลและบริการ ภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจ สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็วและ ประหยัด เพื่อให้สามารถให้บริการสาธารณะที่มีคุณภาพได้อย่าง มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงได้ อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเท่าทันต่อความต้องการและความคาดหวังของ ประชาชนและทุกภาคส่วน และภายใต้แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการรัฐในการบริการประชาชน มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อการบริหารงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และขยายสู่หน่วยงาน ภาครัฐระดับท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 2: พัฒนาบริการที่สะดวกและเข้าถึงง่าย ด้วยเหตุผลจากหลักการ ที่กล่าวมา ดังนั้นเห็นว่าในส่วนการดำเนินการแจ้งเตือนประชาชนผู้ขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลากว่า 4 เดือน โดยวิธีการปิดประกาศ ณ ที่เปิดเผยที่โรงรับจำนำ โดยข้อกำหนดดังกล่าวเป็นไปตาม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3