2566-2-บดินทร์ ภาณุเรืองรัศมี-การค้นคว้าอิสระ

72 พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ไม่ต้องมีการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด แต่สามารถดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์ จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 โดยเพิ่มเติมข้อกำหนดให้สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการ แจ้งเตือนประชาชนผู้ขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลากว่า 4 เดือน โดยวิธีการปิดประกาศ ณ ที่เปิดเผยที่โรง รับจำนำ หรือวิธีการอื่นใดตามที่สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด เช่น ส่งจดหมายทางไปรษณีย์ แต่ต้องดำเนินการควบคู่กับรูปแบบเดิม ในส่วนประเด็นการขายทอดตลาด ของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการโดยวิธีการประมูล ณ ที่ทำการ สถานธนานุบาลเท่านั้น หากมีการแก้ไขระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอน ทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 โดยการให้สถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการโดยวิธีการ ประมูลผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยต้องดำเนินการควบคู่กับระบบเดิมคือการจำหน่ายทรัพย์หลุดโดย วิธีการประมูลขายทอดตลาดในที่ตั้งของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากสถาน ธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ จะเป็นการขจัด อุปสรรคที่เป็นปัญหาต่อการพัฒนาสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกระบวนการ ขายทอดตลาดของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5.3 ข้อเสนอแนะ จากข้อค้นพบการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายว่าด้วยสถานธนานุบาลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานกิจการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2546 ระเบียบสำนักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยการรับจำนำ การไถ่ถอนทรัพย์จำนำ และการจำหน่ายทรัพย์หลุด จำนำของสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553 มีข้อเสนอแนะประเด็นการปรับปรุงกฎหมาย เห็นควรให้ดำเนินการ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) เดิมพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า ในพระราชบัญญัตินี้ “โรงรับจำนำ” หมายความว่า สถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็น ปกติธุระแต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท และหมายความรวมตลอดถึง การรับหรือซื้อ สิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท โดยมี ข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย โดยสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 มาตรา 4 โดยการบัญญัติ มาตรา 3 ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “โรงรับจำนำ” ในมาตรา 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ โรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2534 ความว่า “โรงรับจำนำ” หมายความว่า สถานที่ รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระและหมายความรวมตลอดถึง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3