2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

14 การพักโทษจะมีหน่วยงานคุมของประพฤติที่ดูแลเพื่อจะป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำได้ แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวโดยครบกำหนดโทษและการได้รับอภัยนั้นกลับพ้นโทษออกสู่อิสระ และไม่มีเงื่อนไขใดให้ต้องปฏิบัติหลังจากได้รับการปล่อยตัวและเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่อาจมีอำนาจเข้าไป ติดตาม สอดส่อง เฝ้าระวังผู้ที่เคยกระทำความเหล่านี้ได้เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำผิดซ้ำในภายหลัง ประเภทคดีที่มีอัตราการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวในปีงบประมาณ 2566 ได้แก่ อันดับที่หนึ่งประเภทความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ประเภทความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดรวมถึง พระราชบัญญัติยาเสพติดฯ พระราชบัญญัติสารระเหย พระราชบัญญัติออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ร้อยละ 66 อันดับที่สองประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ร้อยละ 13.32 อันดับที่สามประเภท ความผิดอื่นๆร้อยละ 9.39 อันดับที่สี่ประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายร้อยละ 6.37 อันดับที่ห้าประเภทความผิดเกี่ยวกับเพศร้อยละ 2.28 (กรมราชทัณฑ์, 2565a) โดยจากรายงาน การจัด 5 อันดับประเภทของคดีที่มีอัตราการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัว ในปีงบประมาณ 2566 ของกรมราชทัณฑ์นั้นเมื่อมีปล่อยตัวผู้กระทำความผิดหลังพ้นโทษมักเกิดการ กระทำผิดซ้ำมากขึ้นซึ่งคดีที่มักเกิดการกระทำความผิดซ้ำนั้น ส่วนใหญ่เป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด กว่าร้อยละ 66 ซึ่งเป็นคดีที่มีการกระทำผิดซ้ำมากกว่าคดีอาญาอื่น ๆ โดยคดีที่เป็นความผิดใน คดียาเสพติดส่วนใหญ่จะเป็นความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย ทรัพย์สินและเชื่อมโยงไปยังคดีที่มี ความผิดเกี่ยวกับเพศ โดยผู้ที่พ้นโทษบางกลุ่มที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้วนั้นไม่สามารถกลับคืนสู่ สังคมได้อย่างปกติและมักกลับไปกระทำผิดซ้ำ เนื่องจากกลไกในการจัดการและการแบ่งแยกกลุ่ม ผู้กระทำความผิดที่มีลักษณะการกระทำความผิดที่แตกต่างกัน รวมถึงกระบวนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟู ระหว่างอยู่ในเรือนจำอาจไม่ได้มีประสิทธิภาพมากพอ จึงต้องกลับเข้าสู่เรือนจำซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรือ อาจจะเป็นเพราะปัจจัยอื่นในการดำเนินชีวิตหลังจากที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้วนั้น เช่น การถูกสังคมตีตรา การไม่ได้รับโอกาสในการทำงาน การไม่เป็นที่ยอมรับไม่ให้โอกาสในการกลับ ตัวกลับใจจากสังคม การกลับไปอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม คบหาเพื่อน จึงทำให้ผู้ที่พ้นโทษบางกลุ่ม นั้นไม่มีทางเลือกอื่นจึงต้องหวนกลับมากระทำความผิดซ้ำอีกครั้ง ทำให้เห็นข้อบกพร่อง ในแนวนโยบายและกฎหมายที่ใช้ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ให้เด็ดขาดตั้งแต่ต้นเหตุของปัญหายาเสพติด การเกิดคดีอาชญากรรมนั้นเป็นคดีที่สังคมทุกสังคมต้องพบเจอและเผชิญกับปัญหาดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินในสภาพสังคมไทยปัจจุบันอัตราการก่ออาชญากรรม ได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีลักษณะของการกระทำความผิดที่รุนแรงต่อผู้เสียหายและสังคม ย่อมแสดงให้เห็นถึงการไม่เกรงกลัวในกฎหมายของบ้านเมืองและทำให้ส่งผลกระทบต่อ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3