2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

16 จากการสอบสวนผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ โดยเคยถูกดำเนินคดีจำหน่ายยาเสพติดมาแล้ว ก่อนจะพ้นโทษออกจากเรือนจำมาก่อคดีซ้ำอีก ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้นำตัวไปที่บ้านพักเพื่อหาสิ่งผิด กฎหมายเพิ่มเติม ซึ่งผู้ต้องหาได้พบกับผู้เป็นพ่ออายุประมาณ 90 ปี โดยผู้ต้องหาได้คุกเข่าลงกับพื้น และกล่าวขอโทษผู้เป็นพ่อที่ได้ทำความผิดซ้ำอีก ส่วนผู้เป็นพ่อก็ชี้หน้าด่าทอลูกชายที่ไม่สำนึกพ้นโทษ ออกมาก็มาทำผิดซ้ำ ก่อนจะบอกกับลูกชายว่า “ครั้งนี้คงเป็นครั้งสุดท้ายที่จะได้เจอหน้ากัน” จากนั้น เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวน สภ.พบพระ เพื่อดำเนินคดีกฎหมายและ ขยายผลต่อไป”(บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด, 2565) ตัวอย่างข่าวที่ 3 “วันที่ 6 ก.พ. 62 นายอำเภอสัตหีบพร้อมปลัดอาวุโส และเจ้าหน้าที่งานปปส น ำชุ ด ป ร าบ ป ร าม ย า เส พ ติ ด เข้ าจับ กุ ม ตั ว น า ย ซี (น าม ส มุ ม ติ ) อ า ยุ 29 ปี ใน ขณ ะ ขี่รถจักรยานยนต์ ฮอนด้า สีชมพู อยู่บนถนนสุขุมวิท บริเวณรอยต่อสุดเขตเมืองพัทยา สืบเนื่องมาจากได้มีการวางแผนล่อซื้อยาไอซ์จากผู้ต้องหา โดยมีการนัดหมายส่งมอบกันบริเวณริม ถนนสุขุมวิท ช่วงรอยต่อสุดเขตเมืองพัทยาแต่ผู้ต้องหามีความระแวง ถ่วงเวลานานกว่า 2 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่จึงตัดสินใจยกเลิกภารกิจล่อซื้อ พร้อมตระเวนพื้นที่โดยรอบ จนพบผู้ต้องหากำลังจอดรถรอ สายลับอยู่ จึงแสดงตัวเข้าจับกุม แต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย จากสอบถามผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ บอกว่าแต่ไม่ได้นำไอซ์ติดตัวมา ต้องมารับเงินจากสายลับก่อน เพื่อไปซื้อต่อกับเอเย่นต์อีกทอดหนึ่ง พร้อมยอมรับว่าได้เสพยาบ้าและยาไอซ์ก่อนออกมาส่งยา จึงมีความระแวงเกรงถูกจับกุม ที่ผ่านมา ก็เคยถูกจับกุมในคดียาเสพติด เวียนเข้าออกคุกและวิวัฒน์พลเมืองมาแล้วกว่า 20 รอบ ล่าสุด พึ่งพ้นโทษมาช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก็มาก่อเหตุอีกซึ่งครั้งนี้ผู้ต้องหาบอกว่า ได้ระมัดระวัง ในการก่อเหตุอย่างที่สุดแล้ว ไม่คิดว่าจะโดยจับกุมมาได้อีก” (สำนักข่าวทูเดย์, 2562) จากกรณีตัวอย่างข่าวคดียาเสพติด ข้างต้นที่เกิดขึ้นนั้นจะสังเกตได้ว่าผู้กระทำความผิดส่วนใหญ่ ล้วนเป็นผู้มีประวัติเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดมาก่อนแล้ว โดยเป็นผู้ที่ได้รับการปล่อย ตัว โดยครบกำหนดโทษและได้รับการฟื้นฟูจากสถานบำบัดแล้วนั้นแต่ก็ยังหวนกลับไปกระทำความผิด ในคดียาเสพติดซ้ำอีก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัญญายาเสพติดนั้นยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ดีพอทำให้เห็นถึง ระบบการป้องกันปรามปราบยาเสพติด ระบบการจัดการก่อนปล่อยผู้ต้องขังออกจากเรือนจำและ ระบบการบำบัดผู้ที่ติดยาเสพติดนั้นยังไม่สามารถบรรลุ ผลและถึงแม้ว่าจะมีการบำบัด ฟื้นฟู ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด ในมาตรา 108 รวมถึงในมาตรา 113 ถึง มาตรา 117 นั้นได้กล่าวถึงในส่วนของกลุ่มผู้เสพยาเสพติดเป็นหลักเท่านั้นและให้ถือว่า ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและต้องให้อยู่ในความดูแลตามนโยบาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3