2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

17 ของกระทรวงสาธารณสุขแต่กลับไม่ได้มีการพูดถึงในส่วนกลุ่มของผู้จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย นำเข้า ส่งออก ผลิตและอื่นๆ (ประมวลกฎหมายยาเสพติด, 2564) เมื่อเทียบสถิติการนักโทษเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2566 โดยแยกตามประเภทคดีจากจำนวนนักโทษทั้งหมด 168,322 คนในประเภทคดี รวมประเภทเสพ (เสพ ครอบครอง เสพและครอบครอง) คิดเป็นร้อยละ 14.75 และในรวมประเภทจำหน่าย (จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย ผลิต นำเข้า อื่นๆ ) คิดเป็นร้อยละ 84.41 (กรมราชทัณฑ์ , 2566) ซึ่งกลุ่มของจำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย ผลิต นำเข้าและอื่นๆ กลุ่มผู้กระทำความผิดเหล่านี้ เป็นกลุ่มขนาดเล็ก ที่กำเนิดเกิดเป็นต้นตอของปัญหายาเสพติดในวงกว้างอันเป็นภัยต่อความมั่นคง ของประเทศ ทำให้เกิดผู้เสียหายในวงกว้างได้ในปัจจุบันตลอดจนอนาคต แต่กลับไม่ได้รับการแก้ไข ที่เข้มงวดตั้งแต่ต้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ากลไกในการจัดการตั้งแต่แรกรับผู้ต้องขังเข้าไปสู่เรือนจำ และการแบ่งแยกกลุ่มผู้กระทำความผิดที่มีลักษณะการกระทำความผิดที่แตกต่างกัน หรือ อาจด้วยปัญหาของนักโทษที่ล้นคุกจึงไม่สามารถแยกผู้ค้ารายย่อยกับผู้ค้ารายใหญ่ออกจากกัน เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้ได้รับโทษและออกมานั้นสังคมไม่ยอมรับ ไม่สามารถหาวิถีทางอื่นในการดำเนินชีวิต ได้จึงจำเป็นต้องกลับมาก่อความผิดในลักษณะนี้ซ้ำ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันกรมราชทัณฑ์ ได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและส่งเสริม การมีงานทำ (CARE : Center for Assistance to Reintegration and Employment) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือผู้พ้นโทษให้มีงานทำทั้งขณะต้องโทษในเรือนจำและ การนำความรู้จากการอบรมวิชาชีพไปประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษรวมทั้งเป็นศูนย์ประสานงาน ช่วยเหลือผู้พ้นโทษในด้านต่างๆ เพื่อดำเนินการตามนโยบายของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ในการคืนคนดี สู่สังคมเพื่อให้ผู้พ้นโทษมีอาชีพ มีงานทำภายหลังพ้นโทษ สามารถช่วยเหลือตนเองไม่เป็นภาระ แก่ครอบครัวและสังคมและไม่กลับมากระทำผิดซ้ำและเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุติธรรม ในการให้หน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมบูรณาการการทำงานเพื่อพัฒนา และส่งเสริมอาชีพผู้กระทำผิดอย่างยั่งยืนแต่ทั้งนี้ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับการคัดกรองข้อมูลของผู้รับบริการ (ผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษ) ว่าจะยินยอมขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์ดังล่าวด้วยหรือไม่ หากยินยอม ทางศูนย์ก็จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ CARE Support และประสานหน่วยงานภายในผ่านช่องทาง ออนไลน์ การติดตามผลดูแลทางโทรศัพท์และการลงพื้นที่เข้าไปเยี่ยมบ้านผู้พ้นโทษต่อไป (ในกรณีที่ผู้ พ้นโทษขอทุนช่วยเหลือ) แต่หากไม่ขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์จะมีการคัดกรองและตรวจสอบ แผนการดำเนินชีวิตภายหลังพ้นโทษและให้ข้อมูลทางการติดต่อไว้ (กรมราชทัณฑ์, 2563)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3