2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

18 จึงทำให้เห็นว่าการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวนั้นมีผลดีในด้านที่ช่วยเหลือผู้พ้นโทษให้สามารถดำรงชีวิตได้ โดยมีอาชีพให้การหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว อีกทั้งยังสามารถติดตามผลและลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ผู้พ้นโทษได้ด้วยเช่นเดียวกัน แต่กลับมีข้อเสียที่ว่าผู้พ้นโทษบางกลุ่มก็ไม่ได้ยินยอมขอรับ ความช่วยเหลือจากระบบของทางศูนย์จนอาจจะเกิดให้ก่อปัญหายาเสพติดนั้นซ้ำได้ ปัญหายาเสพติด ยังคงเป็นปัญหาหลักระดับประเทศอยู่ซึ่ งปัญหายาเสพติดเป็น เรื่องที่สังคมไทยได้เผชิญ มาอย่างยาวนานโดยยาเสพติดล้วนเป็นบ่อเกิดของปัญหาหลายอย่าง เช่น ปัญหาทางครอบครัวที่ขาด การเอาใจใส่ สภาพแวดล้อมสังคมและชุมชนที่อาศัยอยู่ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ปัญหา ทางเศรษฐกิจและความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม ดังนั้นแล้วสังคมจะจำเป็นต้องมีกฎหมายเข้ามาเป็น บรรทัดฐาน ให้บุคคลปฏิบัติตามเพื่อจะได้ไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตและถึงแม้ว่าอัตราโทษของ คดียาเสพติดนั้นจะมีอัตราโทษที่สูงแต่เมื่อนำตัวผู้กระทำความผิดให้คดียาเสพติดเข้าไปสู่กระบวนการ ในทางกฎหมายแล้วเมื่อได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษออกมา คดีที่ยังคงมีการกระทำความผิดซ้ำ เป็นอันดับหนึ่งนั้นก็คือคดียาเสพติด จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาถึงรูปแบบการติดตามผู้พ้นโทษ ในคดียาเสพติดในภายหลังการพ้นโทษในกรณีครบกำหนดโทษเพื่อสร้างความปลอดภัยในสังคม จากการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นนั้นจะเห็นว่าในประเทศไทยยังไม่มีรูปแบบมาตรการ ในการติดตาม ควบคุมผู้พ้นโทษในกรณีของของกลุ่มผู้จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย ผลิต นำเข้า อื่นๆ ในคดียา เสพติดออกมาในลักษณะรูปธรรมที่ชัดเจนและปัญหาของหน่วยงานที่ ไม่สามารถเห็นได้ชัดว่า แต่ละภาคส่วนมีส่วนร่วมในกระบวนการทางด้านใดและใครจะเป็นผู้ที่ต้องมีอำนาจหน้าที่ติดตาม ควบคุมดูแลผู้กระทำความผิดภายหลังจากครบกำหนดโทษ (พ้นโทษ) ในส่วนของกรณีคดียาเสพติด แม้ว่าทางกรมราชทัณฑ์ได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำเป็น ผู้รับผิดชอบหลักจากที่ผู้ที่พ้นโทษได้รับการปล่อยตัวออกมาแค่หน่วยงานเดียว คือ ศูนย์ประสานงาน และส่งเสริมการมีงานทำ (CARE : Center for Assistance to Reintegration and Employment) แล้วนั้นแต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจยินยอมของผู้พ้นโทษเองด้วยเช่นกันว่าจะยินยอมเข้าร่วม หรือไม่ อีกทั้งทางกระทรวงยุติธรรมได้มีการออกกฎหมายป้องกันการกระทำความผิดซ้ำหรือเรียกว่า “พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565” เพื่อใช้เป็นบทบัญญัติในการป้องกันและเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรม สร้างความ ปลอดภัยให้สังคม เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม แก้ไขปัญหาและ ลดอัตราการกระทำผิดซ้ำ ซึ่งมีบทบัญญัติบางประการที่อาจจะเป็นเรื่องของการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคลตาม มาตรา 26 มาตรา 28 และมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก็ตาม โดยพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3