2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
19 ความรุนแรง พ.ศ. 2565 จะมีการบังคับใช้กับ “ความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง” หมายความว่า ความผิดที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 224 มาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 278 เฉพาะที่ได้กระทำกับเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี มาตรา 278 วรรค 2 มาตรา 279 มาตรา 283 ทวิ มาตรา 284 มาตรา 288 มาตรา 289 มาตรา 290มาตรา 297 มาตรา 298 มาตรา 31 3 1 จากมาตราที่กล่าว มาข้างต้นนั้นจะสรุปประเภทของฐานความผิดที่เข้าข่ายว่าเป็นความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความ รุนแรง พ.ศ. 2565 ได้ดังนี้ คือ 1.ความผิดเกี่ยวกับเพศ 2.ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย 3.ความเกี่ยวกับเสรีภาพ โดยการเฝ้าระวังหลังพ้นโทษตามพระราชบัญญัตินี้ก่อนที่กรมราชทัณฑ์จะปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาด ที่เป็นผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงให้กรมราชทัณฑ์ส่งรายชื่อนักโทษเด็ดขาด ที่เป็นผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ให้กรมคุมประพฤติพิจารณาดำเนินมาตรการ เฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษในกรณีผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงได้รับการปล่อยตัว เพราะเหตุต้องโทษจำคุกครบกำหนดตามคำพิพากษา ได้รับอภัยโทษและพักการลงโทษตามกฎหมาย ว่าด้วยราชทัณฑ์โดยให้กรมคุมประพฤติดำเนินการสืบเสาะและพินิจและจัดทำสำนวนการเฝ้าระวัง ภายหลังพ้นโทษสำหรับนักโทษเด็ดขาดแต่ละราย พร้อมทั้งเสนอความเห็นว่าควรจะเฝ้าระวังนักโทษ เด็ดขาดภายหลังพ้นโทษหรือไม่ แล้วเสนอพนักงานอัยการ ยื่นต่อศาลและหากศาลเห็นว่า มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่ผู้ถูกร้องจะไปกระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงภายหลังพ้นโทษ ให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด คือ มีคำสั่งเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษเป็นระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี นับแต่พ้นโทษ หรือ มีคำสั่งคุมขังตามหมวด 4 ของพระราชบัญญัตินี้เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่พ้นโทษ แต่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวกลับไม่มีการกล่าวถึงในส่วนของการเฝ้าระวังผู้ที่กระทำความผิด ภายหลังพ้นโทษในคดียาเสพติดเลย เพื่อที่จะเป็นการป้องกันและปรามปราบยาเสพติดที่อันอาจจะ เป็นต้นเหตุของการให้เกิดก่ออาชญากรรมที่รุนแรงขึ้นได้ในอนาคตว่าควรจะมีการจัดระบบ ในการติดตามหรือมาตรการเฝ้าระวังผู้ที่เคยกระทำความผิดในคดียาเสพติดบางกลุ่ม อันมีพฤติการณ์ ที่สุ่มเสี่ยงว่าหากได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดพ้นโทษออกมาแล้วนั้น ยังคงมีความเสี่ยงในลักษณะ ที่อาจจะก่อให้เกิดเป็นการกระทำความผิดซ้ำขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานจำหน่าย ครอบครอง 1 พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3