2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

20 เพื่อจำหน่าย ผลิต นำเข้า อื่นๆ เนื่องจากกลุ่มบุคคลเหล่านี้นั้นเป็นกลุ่มบุคคลขนาดย่อมแต่สามารถ ทำให้เกิดความเสียหายขนาดใหญ่กับประเทศได้ ซึ่งหากยังไม่มีมาตรการในการติดตามเฝ้าระวัง เพื่อตัดวงจรยาเสพติดที่ต้นเหตุ ปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ยังคงเป็นปัญหาอันดับต้นอยู่ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาระบบการติดตามผู้พ้นโทษโดยครบกำหนดโทษ ในกรณีของคดี ยาเสพติดโดยมุ่งเฉพาะกลุ่มของผู้จำหน่าย ผู้ครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นหลักและกลุ่มของผู้เสพและ ครอบครองรองลงมาว่าควรให้มีการกำนหนดมาตราการในการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษเฉพาะราย ออกมาใช้บังคับแบบจริงจังในประเทศไทย โดยกำหนดระยะเวลาเท่าที่จำเป็นต่อการป้องกันการ กระทำความผิดซ้ำเท่านั้น ซึ่งไม่เกิน 3 ปีนับจากวันที่พ้นโทษ พร้อมกับการดำเนินงานของทั้งภาครัฐ และเครือข่ายชุมชนอย่างอย่างชัดเจนที่จะเข้าไปควบคุมติดตามผู้พ้นโทษออกมาเฉพาะกลุ่มของยา เสพติดที่คิดว่าเป็นภัยต่อสังคมเท่านั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำและป้องกันการ เกิดปัญหายาเสพติดที่เกี่ยวเนื่องกับอาชญากรรมที่รุนแรงมากขึ้น ในอนาคตจึงเห็นควรศึกษา หน่วยงานที่รับผิดชอบการติดตามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ว่าควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน ใดเป็นหลักและควรมีระยะเวลาในการติดตามมากน้อยเพียงใดเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาอาชญากรรม จากยาเสพติดซ้ำขึ้นอีก 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาปัญหาของระบบการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับระบบการติดตามผู้พ้น โทษในคดียาเสพติด 1.2.3 เพื่อศึกษากฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับระบบการติดตามผู้พ้นโทษในคดี ยาเสพติด 1.2.4 เพื่อเสนอแนะแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายระบบการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด 1.3 คำถามวิจัย ระบบการติดตามผู้กระทำความผิดที่เหมาะสมหลังได้รับการพ้นโทษในคดียาเสพติดเป็นอย่างไร 1.4 สมมติฐาน ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดยังไม่มีกฎหมายในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำทำให้ปัญหา อาชญากรรมก็ยังเกิดขึ้นและมีอยู่อย่างต่อเนื่องอีกทั้งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้เห็นว่ามาตรการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3