2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
25 การฝ่าฝืนต่อกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรมกฎหมายเป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรม ของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นโดยอำนาจทางปกครอง Staphen ให้ความหมายของอาชญากรรม หมายถึง “การกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติของ กฎหมายอาญาและการกระทำเช่นนั้นจะต้องได้รับโทษในทางอาญาซึ่งอาจจะต้องถึงตายหรือเสีย อิสระภาพหรือจะต้องถูกปรับเป็นเงิน “ อาชญากรรมตามที่กำหนดใน Encyclopedia หมายถึง การกระทำที่เจตนาโดย รู้สึกว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือเป็นอันตรายต่อสังคมและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามปกติได้กำหนดข้อห้าม และโทษโดยกฎหมายอาญา อาชญากรรม ตามความหมายของนักอาชญาวิทยา หมายถึง การกระทำที่ชั่วร้ายและ กรรมนี้แม้จะเล็ดลอดกฎหมายไปได้ก็ถือว่าเป็นอาชญากรรมหรือตรงกันข้ามถ้ามิใช่กรรมชั่ว แต่เป็นผิดกฎหมายก็ไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรมเช่นความผิดลหุโทษ Sellin ได้อธิบายว่า “อาชญากรรม หมายถึง ความประพฤติที่เบี่ยงเบนไปจาก บรรทัดฐาน คือ ไม่ใช่เป็นการประทุษร้ายต่อสังคมแต่เป็นการไม่ยอมรับบรรทัดฐานที่สังคมส่วนใหญ่ ยอมรับ ” โดยที่ Sellin ต้อ งการ เอาความป ระพฤติแน วบ รรทัดฐ านมา เป็น เครื่องวัดว่ า อะไรคืออาชญากรรม Jeremy Bentham อธิบายว่า อาชญากรรม คือ การกระทำที่ถือว่า เป็นความผิด ทางอาญา คือการกระทำที่กฎหมายห้ามไว้ซึ่งมีผลร้ายมากกว่าผลดี B.A. Worthe ให้ความหมายว่าอาชญากรรมเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนหน้าที่ในทางสังคม ต่อเพื่อนร่วมสังคมด้วยกันอันยังผลให้ผู้ฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษ Michael and Adler ได้ให้คำจำกัดความของอาชญากรรมไว้ว่า อาชญากรรมเป็น พฤติกรรมที่ต้องห้ามตามกฎหมายอาญา Jeffery เป็นอีกผู้หนึ่งที่สนับสนุนให้ใช้คำจำกัดความของอาชญากรรมตามนัย ทางกฎหมาย ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยกล่าวว่า “อาชญากรรมเป็นพฤติกรรมต่อต้านสังคมที่ระบุไว้ใน กฎหมายอาญา” และเขาได้ให้ความหมายของอาชญากรรม โดยใช้หลักการในกฎหมายแองโกลแซก ซอน (Anglo-Saxson) ซึ่งมีหลักสำคัญ 5 ประการ คือ 1.การกระทำนั้นจะต้องกระทำในขณะที่ผู้กระทำมีสติสัมปชัญญะ มีเจตนาและมีผลร้าย จากการกระทำนั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3