2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

26 2.การกระทำนั้นจะต้องเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมายในขณะที่บังคับใช้อยู่ ในขณะที่การกระทำนั้นได้เกิดขึ้น อีกนัยหนึ่งกฎหมายย่อมไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับกับการกระทำ นั้นได้เกิด ขึ้นก่อนจะมีกฎหมายกำหนดว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด 3.ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาร้าย (mens rea) ในการประกอบการกระทำนั้น 4.จะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลร้ายที่เกิดขึ้น 5.การกระทำนั้นจะต้องมีกฎหมายกำหนดโทษไว้อย่างแน่ชัดในขณะกำลังกระทำผิด (เพ็ญพักตร์ ทองแท้ & สุนทร ขวัญเพ็ชร, 2546) 2.1.4 สาเหตุการเกิดอาชญากรรม จากการศึกษาสาเหตุของอาชญากรรมในแต่ละด้านก็สามารถที่จะแสดงให้เห็นการ เชื่อมโยงแนวความคิดเกี่ยวกับสาเหตุของอาชญากรรมภายใต้การศึกษาแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน 1. ถ้าพิจารณาในแง่ของตัวบุคคล ภายใต้การศึกษาของนักวิชาการหลาย ๆ ท่าน ก็อาจสรุป ได้ว่าการเกิดขึ้นของอาชญากรรมโดยส่วนหนึ่งนั้นสืบเนื่องมาจากความโน้มเอียง ต่อการกระทำผิดที่ถูกกำหนดโดยบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันไป เช่น ความผิดปกติ ทางชีววิทยา กรรมพันธุ์ ความผิดปกติทางสมอง ระดับสติปัญญา ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการศึกษา ทางจิตวิทยากายภาพ รวมตลอดถึงความไม่สามารถของบุคคลที่จะปรับตัวเองเข้ากับสิ่งแวดล้อม และแรงผลักดันของบุคคล ที่ตกลงใจจะประกอบอาชญากรรม ซึ่งเป็นลการศึกษาทางด้านสังคม จิตวิทยา 2. ถ้าพิจารณาในแง่ของกลุ่มบุคคล ก็อาจสรุปได้ว่า สาเหตุของอาชญากรรมนั้น โดยส่วนหนึ่งเกิดขึ้น จากการขาดความสามารถที่จะต่อต้านการกดดันในการกระทำผิด ซึ่งถูกกำหนดโดยบทบาทของกลุ่ม เช่น การเลียนแบบความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ในแง่ของ การเรียนรู้ซึ่งเป็นผลที่ได้ จากการศึกษาด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม 3. ถ้าพิจารณาในแง่ของระบบสังคมแล้วอาจกล่าวได้ว่าการเกิดของอาชญากรรมนั้น ย่อมเกี่ยวพันและขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ต่าง ๆ ทางสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม สถานะและชนชั้น ทางสังคมของบุคคลที่จะเป็นเครื่องกำหนดความโน้มเอียงในการกระทำผิด ซึ่งเป็นผลที่ได้จาก การศึกษาทางสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย นอกจากนี้การศึกษาถึงมูลเหตุของอาชญากรรมนั้น ควรจะศึกษาด้านเหยื่ออาชญากรรม ควบคู่ไปกับการศึกษาด้านอาชญากรรมด้วย เพราะถือได้ว่าเป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทอย่าง สำคัญในการก่อให้เกิดอาชญากรรมขึ้น ดังผลการศึกษาวิจัยของ สตีเฟน ซาฟเฟอร์ ต่อไปนี้ (อัณณพ ชูบำรุง, 2527)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3