2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
28 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า ยาเสพติด หมายถึง ยาหรือสารเคมีซึ่ง เมื่อเสพหรือฉีดเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะติด ก่อให้เกิดพิษเรือรัง ทำให้ร่างกายและจิตใจเสื่อมโทรม เช่น ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน ยานอนหลับ สุรา (สำนักงานราชบัณฑิตย สภา, 2525) ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 1 ได้ให้นิยามของ “ยาเสพติดให้โทษไว้ ว่า” หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีใดตาม แล้วจะก่อให้เกิดผล ต่อร่างกายและจิตใจที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1. มีความต้องการเสพสารนั้นอย่างรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจ 2. ต้องเพิ่มขนาดหรือปริมาณการเสพสารนั้นมากขึ้นเป็นลำดับ 3. เมื่อหยุดเสพสารนั้นจะเกิดอาการถอนยา 4. สุขภาพของผู้เสพสารนั้นเป็นเวลานานจะทรุดโทรมลง (ประมวลกฎหมายยาเสพติด, 2564) โดยสรุปแล้วยาเสพติด หมายถึง ยาหรือสารที่สูบ ดม ฉีดหรือรับประทานเข้าสู่ร่างกายไปแล้ว ทำให้เกิดอาการติดหรือต้องการเสพมากขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยจะก่อให้เกิดผลต่อร่างกายหรือจิตใจและ สามารถทำให้ร่างการทรุดโทรมและจิตใจเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ 2.2.2 ประเภทของยาเสพติด ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ (ก) ประเภทของยาเสพติดตามมาตรา 29 พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพ ติด พ.ศ. 2564 มาตรา 29 ยาเสพติดให้โทษแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ (1) ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน (Heroin) (2) ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน (Morphine) โคคาอีน (Cocaine) โคเดอีน (Codeine) ฝิ่นยา (Medicinal Opium) (3) ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษ ในประเภท 2 ผสมอยู่ ด้วย ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา (4) ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ (Acetic Anhydride) อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl Chloride) (5) ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3