2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

29 ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศระบุชื่อยาเสพติดให้โทษเพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ คำว่า ฝิ่นยา (Medicinal Opium) หมายถึง ฝิ่นที่ได้ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่งโดยมีความมุ่งหมายเพื่อใช้ ในทางยา (ข) แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธี ทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น (ค) ประเภทยาเสพติดแบ่งตามองค์การอนามัยโลกจัดแบ่งไว้ 9 ประเภท ได้แก่ 1.ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีนรวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เช่น ฝืน มอร์ฟีน เฮโรอีนเพทิดีน 2. ประเภทบาบิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน เช่น เซโคบาร์บิตาล อะโม บาร์บิตาล พาราดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม คลอไดอาซีพอกไซด์ 3. ประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้ 4. ประเภทแอมเฟตามีน เช่น แอมเฟตามีน เดกซ์แอมเฟตามีน 5. ประเภทโคเคน เช่น โคเคน ใบโคเคน 6. ประเภทกัญชา เช่น ใบกัญชา ยางกัญชา 7. ประเภทคัท เช่น ใบคัท ใบกระท่อม 8. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เมสคาลีน เมล็ดมอร์นิ่งโกลลี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด 9. ประเภทอื่นๆ เป็นพวกไม่สามารถเข้าประเภทใดได้เช่น ทินเนอร์เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด บุหรี่ (ง) แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท การแบ่งยาเสพติดตามฤทธิ์ของยาที่มี ต่อร่างกายเมื่อเสพเข้าไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.ประเภทกดระบบประสาท (Depressants) ได้แก่ เฮโรอีน มอร์ฟีน เซโคนาล 2. ประเภทกระตุ้นประสาท (Stimulant) ได้แก่ แอม เฟตามีน กระท่อม 3.ประเภทหลอนประสาท (Hallucinogens) ได้แก่ แอล เอส ดีและ 4. ประเภทออกฤทธิ์หลายอย่างทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาทและหลอน ประสาท (Mixed) ได้แก่ กัญชา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3