2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

33 ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม (Crime Triangle Theory) สามารถนำมาใช้ในการอธิบาย ถึงสาเหตุหรือองค์ประกอบของการเกิดอาชญากรรม ทั้งนี้ Ronald V. Clarke John Eck กล่าวถึง ส่วนประกอบของสามเหลี่ยมอาชญากรรม 3 ด้าน คือ 1) ผู้กระทำผิด/คนร้าย (Offender) หมายถึง ผู้ที่มีความต้องการ (Desire) จะก่อเหตุหรือลงมือ กระทำความผิด 2) เหยื่อ (Victim)/เป้าหมาย (Target) หมายถึง บุคคล สถานที่ หรือวัตถุสิ่งของที่ผู้กระทำผิด หรือคนร้าย มุ่งหมายกระทำต่อ หรือเป็นเป้าหมายที่ต้องการ 3) โอกาส (Opportunity) หมายถึง ช่วงเวลา (Time) และสถานที่ (Place) ที่เหมาะสม ที่ผู้กระทำผิดหรือคนร้าย มีความสามารถจะลงมือกระทำความผิดหรือก่ออาชญากรรม เมื่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ครบองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้ เกิดอาชญากรรมขึ้นได้ง่าย ทฤษฎีดังกล่าวนี้มีการนำเสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมหรือ การป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรมได้ โดยต้องพยายามทำให้องค์ประกอบของทฤษฎีสามเหลี่ยม อาชญากรรม ด้านใดด้านหนึ่งหายไป ซึ่งจะทำให้อาชญากรรมไม่เกิดขึ้น (สุขุมา อรุณจิต & วุฒิพล มั่นเหมาะ, 2559) ซึ่งในการปฏิบัติงานของในแต่ละพื้นที่ ควรนำแนวคิดของทฤษฎีดังกล่าวมาใช้ใน การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก ตามยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวคือ ต้องพยายาม ทำให้องค์ประกอบการเกิดอาชญากรรม ด้านใดด้านหนึ่งของสามเหลี่ยมหายไป โดยมีวิธีการในการ ดำเนินการ ดังต่อไปนี้คือ 1. ด้านผู้กระทำผิดหรือคนร้าย (Offender) ต้องพยายามลดหรือควบคุมจำนวนผู้กระทำความผิด หรือคนร้ายในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยมุ่งเน้นใช้ทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย ( Law Enforcement Theory) เช่น การเฝ้าระวังบุคคลพ้นโทษที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ การกำหนดมาตรการควบคุมแหล่ง อบายมุขหรือสถานบริการที่จะเป็นแหล่งเพาะอาชญากรรม การระดมกวาดล้างอาชญากรรม อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดหรือคนร้ายได้อย่างทันท่วงที รวมทั้ง การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติดให้โทษ และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น 2. ด้านเหยื่อ (Victim)/เป้าหมาย (Target) ผู้เสียหายหรือเหยื่อ หรือประชาชนทั่วไปต้องรู้จัก การป้องกันตนเอง ครอบครัว และชุมชนหรือสังคม ตำรวจจะต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือประชาชน ในพื้นที่โดยมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการป้องกัน อาชญากรรมหรือไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม เช่น การแต่งตัว การใส่เครื่องประดับหรือของที่มีค่า การหลอกลวงของคนร้ายในลักษณะต่าง ๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3