2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
34 3. ด้ า น โ อ ก า ส (Opportunity) โ อ ก า ส ที่ ผู้ ก ร ะ ท ำ ค ว า ม ผิ ด ห รื อ ค น ร้ า ย จ ะ ล ง มื อ ก่ออาชญากรรมนั้นจะต้องอาศัย เวลาและสถานที่ที่เหมาะสมในการก่อเหตุ ตำรวจต้องพยายาม หาวิธีการเพื่อที่จะตัดช่องโอกาสของคนร้ายดังกล่าว โดยแยกออกเป็น 3.1 เวลา ต้องพยายามตัดช่องโอกาสในเรื่องเวลาที่จะเกิดเหตุ โดยมุ่งเน้นการปรากฏตัว ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ (Show off Force) การตั้งจุดตรวจค้น เป็นต้น 3.2 สถานที่ สำหรับเรื่องการตัดช่องโอกาสในเรื่องสถานที่นั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี และมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม ( Crime ControlThrough Environmental Design) เป็นวิธีการปรับสภาพแวดล้อมและใช้ประโยชน์ สภาพแวดล้อมใน การลดโอกาสการก่ออาชญากรรม การจัดการพื้นที่ให้ปลอดภัยตาม โครงการพื้นที่ ปลอดภัย (Safety Zone) เครื่องมือเครื่องใช้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งนี้ตำรวจจะต้องเข้าไป จัดการให้มีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนเพื่อร่วมมือกัน แก้ไขปัญหาอาชญากรรม (สถานีตำรวจภูธรโพธิ์กลาง, 2559 ) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรมเป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงองค์ประกอบ ที่ก่อให้เกิดอาชญากรรม โดยมีองค์ประกอบหลายอยู่ 3 อย่าง คือ ตัวผู้กระทำผิด เหยื่อและโอกาส และการก่อให้เกิดอาชญากรรมปัจจัยหลายอย่างเข้ามาประกอบทั้งด้านเวลาที่เหมาะสม สถานที่ที่ลับ ตาจากผู้คน ปัจจัยของเหยื่อจากการแต่งตัวหรือถือของมีค่าและปัจจัยอื่นๆ ซึ่งถ้าหากมีการแก้ไข จัดการให้องค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งหายไปการก่ออาชญากรรมนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น เช่น การมีเจ้าหน้าที่ตำรวจค่อยตรวจตราตามหมู่บ้านหรือในสถานที่ที่มักมีการเกิดอาชญากรรมบ่อยครั้ง ทั้งนี้หากมีการร่วมมือกับทางภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามาช่วยกันสอดส่องดูแลปัญหาการเกิด อาชญากรรมนั้นก็อาจจะมีแนวโน้นที่ลดลง 2.4 ทฤษฎีการลงโทษทางอาญา แนวคิดและทฤษฎีการลงโทษทางอาญาเป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิมและได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จากเดิมที่มุ่งเน้นการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนให้เกิดความหลาบจำเพียงอย่างเดียวก็ได้มีการนำ เอาแนวคิดในการมุ่งแก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำความผิดเข้ามาใช้ด้วย ซึ่งก่อให้เกิดวิธีการและ มาตรการต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับผู้กระทำความผิดแต่ละราย โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งผู้กระทำความผิดที่สามารถฟื้นฟูแก้ไขพฤติกรรมให้กลับตัวเป็นคนดีคืนสู่สังคมได้ และผู้ที่กระทำ ความผิดเล็กน้อยหรือกระทำความผิดโดยปราศจากความชั่วในการลงโทยผู้กระทำความผิดอาญา จึงจำเป็นต้องพิจารณาทฤษฎีการลงโทษทางอาญาประกอบด้วย ซึ่งแต่ละทฤษฎีมีรูปแบบและ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3