2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

35 สนองตอบวัตถุประสงค์ในการลงโทษทางอาญาแตกต่างกัน โดยทฤษฎีการลงโทษทางอาญาที่ปรากฎ อยู่มีดังนี้ 2.4.1 ทฤษฎีการลงโทษเพื่อเป็นการแก้แค้นตอบแทน (retribution) เป็นทฤษฎีการลงโทษที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง ตามแนวความคิดในการลงโทษเพื่อ แก้แค้นผู้กระทำความผิดโดยมีพื้นฐานความคิดมาจากลัทธิเจตจำนงเสรีที่เรียกว่า Free Will ลิทธินี้ มีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์มีเหตุผล มีอิสรเสรีภาพที่จะคิด มีเสรีภาพที่จะกระทำการใด ๆ ภายใต้ ความคิดความเชื่อและการตัดสินใจของตนเอง รวมทั้งความสามารถของบุคคลในการใช้เหตุใช้ผล การกระทำสิ่งใด มนุษย์ย่อมมีเหตุผลเป็นของตนเอง ดังนั้น มนุษย์จึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำ ของตนเองที่ ได้กระทำลงไป หากการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ดี เขาย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดี แต่หากเป็นการกระทำที่ไม่ดีหรือเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎเกณฑ์ของสังคมสมควรได้รับการตำหนิ หรือได้รับการลงโทษจากสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การที่สังคมลงโทษเขา เพราะเหตุผลที่มาจาก การกระทำของเขาเอง หาใช่สิ่งอื่นใดไม่ เมื่อเขากระทำผิดเขาย่อมสมควรถูกลงโทษ การลงโทษจึงเป็น การทดแทนการกระทำผิดของเขานั่นเอง 2.4.2 ทฤษฎีการลงโทษเพื่อเป็นการชดเชยความผิด (Atonement) ทฤษฎีนี้มีความเก่าแก่พอ ๆ กับทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้แค้นหรือเพื่อทดแทน โดยมีแนวคิดว่าในกลุ่มชนบางเหล่ามีกฎข้อบังกับที่เชื่อกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนืออำนาจของ กฎธรรมชาติหากใครกระทำการฝ่าฝืนกฎข้อบังคับนั้นก็ต้องมีการ ชดเชยเพื่อลบล้างการกระทำ ความผิด โดยการกำจัด ผู้กระทำความผิดให้พ้นไปเสียจากสังคม อันเป็นวัตถุประสงค์ของการลงโทษ ผูกพันกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความเชื่องมงาย จึงเป็นทฤษฎีที่ล้าสมัย 2.4.3 ทฤษฎีการลงโทษเพื่อเป็นการข่มขู่หรือปราบปราม (Deterrence) ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนความเชื่อพื้นฐานว่า คนเรากระทำผิดโดยเจตนา และก่อนจะลงมือ กระทำนั้นก็ได้พิจารณาใคร่ครวญถึงผลดีผลเสียแล้วจึงจะลงมือทำ หากเขาพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำผิดจะเกิดผลดีมากกว่าก็จะตัดสินใจกระทำผิด ถ้าเห็นว่าเกิดผลเสียมากกว่าก็จะไม่กระทำ ผิด เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกันมิให้คนกระทำผิด รัฐจึงต้องออกกฎหมายกำหนดความผิดและ โดยสำหรับความผิดนั้นไว้ให้ชัดเจนและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อป้องกันความผิดที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงหลักการของความสุขชื่นชมยินดี และความเจ็บปวดทุกข์ทรมานมาใช้ประกอบ การพิจารณาเพื่อควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย เมื่อมีผู้กระทำผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายก็จะต้อง ได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ทั้งนี้ การลงโทษจะต้องกระทำอย่างรวดเร็วแน่นอน เสมอภาคกัน และรุนแรงตามความเหมาะสมของโทยที่กำหนดไว้การลงโทษดังกล่าวย่อมมีประโยชน์ต่อสังคมใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3