2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

36 ด้านการลดอาชญากรรมและการกระทำความผิดอาญาอื่น ๆ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้คนทั่วไป เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย 2.4.4 ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ประมาณ 200 ปีก่อนหน้านี้ ทางเลือกในการตอบสนองต่อการกระทำผิดกฎหมาย ยังมีไม่มากนัก โดยเป็นที่กล่าวกันโดยทั่วไปว่าผู้กระทำผิดจะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของตนเองได้ถ้าถูกลงโทษตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังมักจะสรุปกันในการวางนโยบายของรัฐอีกว่า การลงโทษผู้กระทำผิดสามารถยับยั้งผู้ที่มีแนวโน้มที่จะกระทำผิดกฎหมายได้ซึ่งจะช่วยลดอัตรา การเกิดอาชญากรรมลงได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงมักเลือกที่จะใช้วิธีการลงโทษหรือมิฉะนั้นก็ไม่ทำอะไร เลยในการเปลี่ยนแปลงผู้กระทำผิดหรือป้องกันอาชญากรรม อย่างไรก็ดี ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่าน มาแนวโน้มในการจัดการกับผู้กระทำผิดเป็นไปในแนวทางของการวางนโยบายและโปรแกรมต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือมากกว่าลงโทษผู้กระทำผิดแต่เพียงประการเดียว และด้วยเหตุที่ การกระทำผิดกฎหมายถูกมองว่าเป็น “ความเจ็บป่วย” ( Sickness) ดังนั้นวัตถุประสงค์ของ การลงโทษจึง ควรเป็นไปเพื่อรักษา (Cure) ผู้กระทำผิดเป็นสำคัญ Benjamin Karpman กล่าวว่า “ ...การจำคุกและการลงโทษไม่ใช่วิธีการจัดการ กับผู้กระทำผิดที่เหมาะสมโดยตัวของมันเอง เราจำเป็นจะต้องแก้ไขผู้กระทำผิดเหล่านั้นอย่างคนที่ เจ็บป่วยทาง จิตใจซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้กระทำผิดเหล่านั้นก็เจ็บป่วยทางจิตใจในทุกแง่มุม จึงไม่มี เหตุผลใดที่ จะต้องลงโทษคนเหล่านี้สำหรับพฤติกรรมที่พวกเขาไม่อาจควบคุมได้ไปมากกว่า การลงโทษคนที่ต้อง หายใจทางปากเพราะป่วยเป็นโรคต่อมทอลซิลโต...จึงเป็นความหวัง ว่าความก้าวหน้าทางกระบวนการ ทางจิตวิทยาและอาชญาวิทยาจะช่วยแทนที่ผู้คุมและเจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัยด้วยพยาบาล และแทนที่ผู้พิพากษาด้วยนักจิตวิทยาที่พยายามด้วยจิตใจที่คิดจะ แก้ไขและรักษาผู้กระทำผิดแทนที่ จะเพียงแต่จะลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายเท่านั้น...” สำหรับการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดด้วยกระบวนการยุติธรรมนั้น Maltz กล่าวว่า การแก้ไข ฟื้นฟูผู้กระทำผิด (Rehabilitation) หมายถึง รูปแบบกระบวนการที่มีความหมายตามลำดับดังต่อไปนี้ ผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องขังเป็นบุคคลที่มีปัญหา ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นสาเหตุโดยตรงของพฤติกรรม อาชญากรบุคลากรด้านการแก้ไขพฤติกรรมของทัณฑสถานสามารถวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้อย่าง ถูกต้องและทัณฑสถานก็มีวิธีการดูแลแก้ไขพฤติกรรมให้กับผู้ต้องขังหรือผู้กระทำผิดจะมีการนำวิธีการ ดูแลแก้ไขพฤติกรรมมาปรับใช้กับผู้ต้องขังหรือผู้กระทำผิดอย่างเหมาะสมและปัญหาของผู้ต้องขังหรือ ผู้กระทำผิดจะได้รับการแก้ไขหรือบรรเทาลงอันเป็นผล เนื่องมาจากการได้รับการดูแลแก้ไขพฤติกรรม ด้วยวิธีการของทัณฑสถาน (สุพิชฌาย์ ศิริวัฒนา สีตะสิทธิ์, 2558)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3