2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

37 โดยทางผู้วิจัยสรุปได้ว่าทฤษฎีการลงโทษทางอาญาเป็นการลงโทษผู้ที่กระทำความผิดเพื่อ เป็นการทดแทนกับการกระทำผิดที่ได้ทำไปซึ่งต้องรับโทษตามกฎหมายของสังคมนั้น ๆ และลงโทษ เพื่อให้เกิดความเข็ดหลาบ โดยลงโทษให้เห็นเป็นตัวอย่างไม่ทำให้ผู้อื่นกระทำผิดตาม 2.5 ทฤษฎีการลงโทษเพื่อเป็นการป้องกันสังคม ทฤษฎีนี้มุ่งเน้นที่การรักษาความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมโดยรวม เป็นการแสดงเจตจำนงร่วมกันของคนในสังคมในข้อที่ว่าแม้จะเป็นการกระทำความผิดระหว่างสมาชิก ต่อสมาชิก ในสังคม เฉพาะรายก็ตาม ก็ถือว่า เป็นการกระทำความผิดต่อสังคม โดยตรง หาใช่ความผิดส่วนตัวไม่ แต่เป็นเรื่องของส่วนรวมของคนในสังคมทุกคน ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้ ได้พัฒนาเป็นแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีการลงโทษเพื่อปกป้องคุ้มครองสังคม โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ 1. จะต้องมีการมองวิธีดำเนินการกับผู้กระทำความผิดอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งคุ้มครองสังคมจาก อาชญากรรมมากกว่าการลงโทษผู้กระทำความผิดเป็นรายบุคคล 2. การลงโทษผู้กระทำผิด ไม่อาจใช้หลักกฎหมายเพียงอย่างเดียวได้ แต่จำเป็นจะต้องศึกษา พฤติกรรมของผู้กระทำผิดเป็นรายบุคคลและสถานการณ์อาชญากรรมของสังคม เพื่อนำมา ประกอบการพิจารณาด้วย (สญัญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ et al., 2562) ทฤษฎีการลงเพื่อเป็นการป้องกันสังคมจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับทฤษฎีการลงโทษทางอาญา แต่จะเป็นการสร้างสังคมให้ปลอดภัยจากการเกิดอาชญากรรมต่างๆ เป็นหลัก และลงโทษบุคคลหรือ กลุ่มของผู้กระทำความผิดที่กระทำความผิดต่อสังคมส่วนร่วม เพื่อปกป้องสังคมให้สงบสุข 2.6 ทฤษฎีตีตรา ทฤษฎีตีตรา (Labeling Theory) เป็นทฤษฎีที่ศึกษาความหมายของภาษาหรือสัญลักษณ์ ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารทางสังคมโดยมีหลักการว่าบุคคลจะสร้างหรือมีความสำนึก แก่ตนเอง ต่อบุคคล สิ่งของเหตุการณ์ใด เฉพาะในการติดต่อสื่อสารในสังคมเท่านั้น แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ สาเหตุของพฤติกรรมอาชญากรรมเกิดจากกระบวนการที่ปัจเจกชนได้ให้ความหมายหรือสร้างความ สำนึกแก่ตนเองว่าเป็นอาชญากร เป็นผลสะท้อนมาจากการถูกตีตราหรือประณามจากบุคคลอื่น ในสังคม โฮเวิร์ด ซอล เบคเคอร์ (Howard Saul Becker) ผู้ริเริ่มทฤษฎีตีตรา อธิบายการเบี่ยงเบน จากบรรทัดฐานทางสังคม ไม่เกี่ยวกับคุณภาพของพฤติกรรม แต่เกี่ยวข้องกับผลจากปฏิกิริยาตอบโต้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3