2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

38 ทางสังคม บุคคลทุกคนในสังคมไม่ว่าในเวลาใดก็อาจถูกตีตราว่าเป็นผู้เบี่ยงเบนได้ กลุ่มทางสังคม เป็นตัวการสำคัญในการสร้างพฤติกรรมเบี่ยงเบน โดยการสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมา เป็นผลทำให้ผู้ที่ฝ่าฝืน กฎเกณฑ์นั้นต้องกลายเป็นผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนต่อมาทฤษฎีตีตราได้พัฒนาโดย จอห์น เบรทเวท (john Braithwaite) ในหนังสือ "อาชญากรรม ความละอาย และการยกเลิกการแบ่งแยก" (Crime, Shame and Reintegration) อธิบายถึงพฤติกรรมอาชญากรรมของบุคคลมีสาเหตุมาจากปัจจัย ภายนอกหลายประการ เมื่อสังคมดำเนินการลงโทษจึงเป็นการทำให้บุคคลต้องโทษเกิดความละอาย ส่งผลให้บุคคลเกิดความรู้สึกในตนเองถึงการเป็นอาชญากร และการมีพฤติกรรมดังกล่าวอีกต่อไป ในอนาคต ซึ่งเรียกกระบวนการลงโทษทางสังคมในลักษณะนี้ว่าเป็นการตีตราหรือทำให้บุคคลเสียหน้า เท่ากับเป็นการปิดโอกาสให้ บุคคลดังกล่าวเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานของสังคม อีกต่อไป ซึ่งทฤษฎีตีตราได้เสนอวิธีการในรูปแบบของการทำให้บุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย กลับเป็นบุคลลที่เคารพกฎระเบียบของสังคม โดยวิธีการให้อภัย หรือบุคคลไม่รู้สึกอับอาย โดยเสนอ ว่าหากสังคมเลือกใช้กระบวนการดังกล่าวต่อบุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย มีแนวโน้มทางสถิติ อาชญากรรม จะต่ำลง ซึ่งในทางตรงกันข้ามหากสังคมใดเลือกการลงโทษที่ทำให้อาชญากรแนวโน้ม ทางสถิติอาชญากรรมจะต่ำลง ซึ่งในทางตรงกันข้ามหากสังคมใดเลือกการลงโทษที่ทำให้อาชญากร รู้สึกอับอาย และถูกกีดกันออกจากสังคมจะส่งผลให้อาชญากร เกิดการรวมตัวประกอบอาชญากรรม ต่อไป (พวงผกา เจริญรื่น, 2556) โดยสรุปแล้วทฤษฎีตีตราเป็นการอธิบายถึงปัญหาอาชกรรมที่เกิดจากการตีตราหรือ ถูกประทับตราบาปขึ้นจากสังคม เป็นทฤษฎีที่ทำให้ผู้ที่กระทำผิดนั้นเป็นผู้ที่มีมลทิน ถูกรังเกียจ ถูกสังคมประณามและทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมนั้นๆ หมดโอกาสที่จะประกอบอาชีพเลี้ยง ตนเองหรือบุคคลในครอบครัว เนื่องจากความไม่ไว้วางใจของคนในสังคม และเมื่อผู้ที่ถูกสังคมตีตรา เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะทำให้กลายเป็นบุคคลที่ไม่สามารถเข้าร่วมกับบุคคลอื่นๆได้ จึงต้องเข้าหา บุคคลในกลุ่มที่ถูกสังคมตีตราเหมือนกัน ซึ่งอาจจะเป็นหนทางในกลุ่มคนดังกล่าวก่ออาชญากรรม ขึ้นอีก 2.7 ทฤษฎีเกี่ยวกับการกระทำความผิดซ้ำ คำว่า “การกระทำความผิดซ้ำ (Recidivism)” มาจากภาษาลาตินว่า recidere เป็นศัพท์ทาง อาชญาวิทยา หมายถึง “การกระทำความผิดของผู้ต้องขังเพิ่มเติมขึ้นอีกหลังจากผู้กระทำความผิดได้ ถูกจับกุมและลงโทษแล้ว” นอกจากนั้น ยังหมายถึง “การละเมิดเงื่อนไขที่ผู้ได้รับการคุมประพฤติหรือ ผู้ที่ได้รับการพักการลงโทษกระทำขึ้น” การกระทำความผิดซ้ำนี้นับรวมถึงการกระทำผิดครั้งที่ 2 ขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3