2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

ค บทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อ ชื่อวิทยานิพนธ์ : ศึกษาระบบการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด ชื่อ-ชื่อสกุลผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาวดาวนภา พิทักษ์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : ศาสตราจารย์ ดร.กรกฎ ทองขะโชค ปริญญาและสาขาวิชา : ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ ปีการศึกษาที่สำเร็จ : 2566 วิทยานิพนธ์นี้เพื่อศึกษาปัญหาระบบการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด โดยมีระเบียบ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่าปัญหาของยาเสพติดและสถิติของการกระทำความผิดซ้ำในคดียา เสพติดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงควรตระหนักถึงการป้องกันและปรามปราบแก้ไขปัญหายาเสพติดให้มี ประสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูภายในเรือนจำ ปัจจัยที่ทำให้ผู้พ้นโทษก่อเกิด การกระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติด ระบบการติดตามผู้พ้นโทษ กรมราชทัณฑ์ได้มีหน่วยงานใน การติดตามดูแลผู้พ้นโทษศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ (CARE : Center for Assistance to Reintegration and Employment) แต่ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจยินยอมของผู้ พ้นโทษเองด้วยเช่นกันว่าจะยินยอมเข้าร่วมหรือไม่ อีกทั้งกระทรวงยุติธรรมได้มีการบังคับใช้มาตรการ เฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 เฉพาะในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ ความรุนแรงเท่านั้น แต่ไม่มีการกล่าวถึงผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด ดังนั้น ควรแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 โดยมีการกำหนดให้ความผิดตามประมวลยาเสพติด ในเรื่องฐานความผิดมาปรับใช้กับ พระราชบัญญัติดังกล่าวเฉพาะบุคคลที่มีพฤติกรรมก่อให้เกิดเหตุแรงร้ายและก่อความเสียหายให้กับ สังคมส่วนใหญ่ และเสนอให้มีแก้ไขเพิ่มเติมในกฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและ เงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการพักการลงโทษ พ.ศ. 2562 โดยเห็นควรกำหนดเกณฑ์การ คัดเลือกที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ของนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับการพักการลงโทษ สามารถตรวจสอบ การใช้อำนาจของคณะกรรมการพิจารณาและเพิ่มบทลงโทษสำหรับนักโทษเด็ดขาดที่ฝ่าฝืนเงื่อนไข การพักการลงโทษ โดยกำหนดระยะเวลาติดตาม 3 ปี ภายหลังได้รับการพ้นโทษและเสนอนโยบายให้ มีการจำแนกตามระดับความเสี่ยงในการกลับไปกระทำผิดซ้ำ ให้หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3