2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

39 ไป อาจเรียกได้ว่าเป็นการกระทำความผิดติดนิสัยและยากต่อการแก้ไขพฤติกรรมที่ติดเป็นนิสัย ให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้การกระทำความผิดซ้ำยังรวมถึงการกระทำผิดในคดีอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้อง เป็นคดีเดิมกับการกระทำความผิดครั้งแรก ยกตัวอย่างเช่น ครั้งแรกต้องคดีเกี่ยวกับบุคคล ต่อมาต้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน เป็นต้นเหล่านี้เราเรียกรวมว่าเป็นการกระทำความผิดซ้ำแม้จะต่างคดี ก็ตาม (Maltz,1984 p.54; จิตราภรณ์ จิตรธร,2551 : หน้า 30) ผู้กระทำความผิดติดนิสัย (Persistence Offender) ผู้กระทำความผิดประเภทนี้ได้แก่บุคคล ที่ไม่สามารถจะปฏิบัติตนให้เข้ากับมาตรฐานของสังคมได้ไม่เกิดความเข็ดหลาบเมื่อต้องโทษและ จะประกอบอาชญากรรมซ้ำอีกเมื่อมีโอกาสโดยไม่คำนึงว่าผลที่เกิดจะเป็นอย่างไรเขาดำรงชีวิตอยู่ด้วย การโจรกรรมไม่คิดเลิก เวลาต้องโทษก็แสร้งทำตัวดี พอพ้นโทษก็ทำความผิดอีกเขาจะพอใจอยู่อย่างนี้ ซึ่งถือว่าเขามีความชั่วร้ายติดตัวอยู่ในบุคลิกภาพ จึงเรียกว่าผู้กระทำความผิดติดนิสัยหรืออาชญากร ที่กระทำความผิดซ้ำไม่เข็ดหลาบ ผู้ที่กระทำความผิดติดนิสัยนั้น พิจารณาจากการที่ผู้นั้นกระทำ ความผิดซ้ำซาก คือ กระทำความผิดหลายๆ ครั้ง ถ้ากระทำผิดเพียงครั้งหรือ 2 ครั้ง ยังไม่เรียกว่า เป็นติดนิสัย เพราะถือว่าอาจจะพลาดพลั้ง แต่ถ้า 3 ครั้งขึ้นไปควรจะถือว่าเป็นการกระทำความผิด ซ้ำซาก ก๊อตเฟสสัน (Gottfredson) กล่าวว่า ผู้กระทำความผิดติดนิสัย (Persistence Offender) โดยทั่วไป หมายถึง ผู้ที่กระทำความผิดซ้ำซากหรือการกระทำความผิดบ่อยครั้งจนถือว่าติดเป็นนิสัย ซึ่งแต่เดิมมักจะใช้คำว่า ผู้กระทำความผิดโดยสันดาน ผู้ที่กระทำความผิดติดนิสัยนั้น พิจารณาจากการ ที่ผู้นั้นกระทำความผิดซ้ำซาก คือ กระทำความผิดซ้ำหลายๆครั้ง ถ้ากระทำความผิดซ้ำเพียงครั้งเดียว คือ กระทำความผิดครั้งที่ 2 ยังไม่ถือเป็นการกระทำความผิดซ้ำซาก ซึ่งแบ่งแยกเป็นประเภทได้ ดังนี้ 1. ผู้ต้องขังที่เป็นอาชญากรอาชีพ อาชญากรอาชีพ เป็นผู้กระทำความผิดที่มีความชำนาญในการประกอบอาชญากรรมหรือ ประกอบอาชญากรรมโดยอาศัยทักษะ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีรายได้หลัก จากการประกอบอาชญากรรม มีลักษณะพิเศษ 3 ประการ คือ ก.มีทักษะหรือความชำนาญในการประกอบอาชญากรรม ข.มีรายได้หลักจากการประกอบอาชญากรรม ค.มีการประกอบอาชญากรรมอย่างต่อเนื่อง อาชญากรรมอาชีพ เมื่อลงมือกระทำความผิดแล้วโอกาสพลาดจะมีน้อย นอกจากจะมีทักษะ และความชำนาญแล้ว อาชญากรอาชีพยังจะต้องมีมูลเหตุจูงใจในการประกอบอาชญากรรมเป็นอาชีพ คือกระทำต่อเนื่องติดต่อกันตามแต่โอกาสเพื่อมุ่งหารายได้ มิใช่กระทำไปเพราะความจำเป็น หรือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3