2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

40 ความกดดันของสภาพแวดล้อม รวมทั้งจะต้องมีการทำความผิดติดต่อกันอย่างเป็นอาชีพ การประกอบอาชญากรรมถือเป็นเรื่องที่ต้องเสี่ยงถ้าโชคดีก็ได้ โชคร้ายก็ถูกจับ ดังนั้น เมื่อถูกจับและ ถูกจำคุกแล้ว บุคคลเหล่านี้จะทำใจได้เพราะเตรียมตัวและเตรียมใจมาแล้ว นอกจากนี้หลายคน เคยผ่านการจองจำในเรือนจำมาก่อน การใช้ชีวิตในเรือนจำของผู้ต้องขังเหล่านี้จึงมุ่งใช้เวลาให้ผ่านไป วัน ๆ เพื่อรอการพ้นโทษ 2. ผู้ต้องขังที่มีจิตบกพร่อง ผู้ต้องขังที่มีจิตบกพร่อง และเป็นผู้ที่กระทำความผิดซ้ำจนถือว่าเป็นผู้ต้องขังที่กระความผิด ติดนิสัยเป็นผู้ต้องขังที่มีลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งก็คือ เป็นพวกที่มีความบกพร่องทางจิตดังกล่าว นำไปสู่การประกอบอาชญากรรมซ้ำซาก การที่ผู้ต้องขังประเภทนี้กระทำความผิดซ้ำ จึงไม่ได้เกิดจาก ความชั่วร้ายในจิตใจที่คิดทำความผิดเพื่อหวังสิ่งตอบแทนทางเศรษฐกิจดังเช่น อาชญากรอาชีพ ซึ่งผล จากความผิดปกติทางจิตดังกล่าวอาจก่อให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ซ้ำซาก หรือมี พฤติกรรมดุร้ายที่ทำให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฆ่าคนตายด้วยวิธีการที่ผิดปกติ 3. ผู้ต้องขังที่กระทำความผิดซ้ำในคดีเล็กน้อย ผู้ต้องขังที่กระทำความผิดซ้ำในคดีเล็กน้อย สามารถแยกผู้ต้องขังเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ผู้ต้องขังที่กระทำความผิดในคดีเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะกระทำความผิดในคดีลักทรัพย์ซึ่งมี การลงโทษในระยะเวลาที่สั้น ทำให้ผู้ต้องขังเหล่านี้มีโอกาสหมุนเวียนเข้ามาในเรือนจำเป็นประจำ ผู้ต้องขังเหล่านี้จะมาจากครอบครัวที่มีปัญหาแตกแยก และมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนมาตั้งแต่เด็กและมี พฤติกรรมซ่อนเร้น โดยพัฒนามาจากเด็กเกเร หนีเรียนไม่ประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาไม่มี ทักษะในการประกอบอาชีพ ชอบความสบายในการหาเงินหรือรายได้โดยการทุจริตหรือลักเล็กขโมย น้อย 2) ผู้ต้องขังที่กระทำความผิดติดนิสัยที่กระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติด โดยเฉพาะกรณี ที่เป็นที่เป็นผู้จำหน่ายและเสพยาเสพติด จะมีพื้นฐานทางครอบครัวที่มีปัญหาเช่นเดียวกับผู้ต้องขัง ที่ทำผิดในคดีเล็กน้อย จากการมีปัญหาครอบครัวนำไปสู่การคบเพื่อนเลวและการติดยาเสพติดต่อมา การติดยาเสพติดของผู้ต้องขังเหล่านี้จะไม่สามารถหลุดวงจรไปได้ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยทางสังคมหลาย ประการ เช่น แพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน การไม่มีงานทำ การไม่ได้รับการยอมรับของสังคม คนรอบข้าง และคนทั่วไป ประกอบกับจิตใจไม่เข้มแข็งจึงหวนกลับไปสู่การกระทำความผิดได้อีก โดยสรุปแล้วการกระทำความผิดซ้ำล้วนประกอบด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยเฉพาะปัจจัยด้าน สังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน เพื่อน ลักษณะแวดล้อมที่อยู่อาศัย รายได้ทางเศรษฐกิจหรือแม้กระทั้ง การยอมรับจากสังคมไม่ว่าจะเป็นบุคคลรอบข้างหรือคนทั่วไปในสังคม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3