2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

41 2.8 หลักสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็น ในด้านสิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรม ความเป็นอิสระและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในหมวด 3 เรื่องของสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยเพื่อให้ การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยทั่วไปรัฐธรรมนูญจะมีบทบัญญัติ ในเรื่องการให้หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งในเชิงรูปธรรมจะต้องมีการกำหนด องค์กรที่จะทำหน้าที่ในการดูแลคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน องค์กรเหล่านี้ประกอบด้วย ศาลและองค์กรอิสระ ที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกต้องเหมาะสมตามเจตนารมณ์ร่วมกันของสังคม มาตราที่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้เป็นมาตรฐานร่วมกันแห่งความสำเร็จสำหรับประชาชน ทั้งมวลและประชาชาติทั้งหลาย เพื่อจุดมุ่งหมายที่ว่าปัจเจกบุคคลทุกคนและทุกส่วนของสังคม โดยการคำนึงถึงปฏิญญานี้เป็นเนืองนิตย์ จะมุ่งมั่นส่งเสริมการเคารพสิทธิ และอิสรภาพเหล่านี้ ด้วยก ารสอน การศึกษ าและ ให้มีการยอม รับ แล ะยึดถือ โดยส ากลอย่ างมีป ระสิท ธิผ ล ด้วยมาตรการอันก้าวหน้าในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งในบรรดาประชาชนของรัฐสมาชิก ด้วยกันเอง และในบรรดาประชาชนของดินแดนที่อยู่ใต้เขตอำนาจแห่งรัฐนั้น ซึ่งสิทธิมนุษยชนนั้นเป็น อันไม่สามาถจะพรากออกได้แต่แต่บางครั้งสิทธิมนุษยชนอาจถูกจำกัด เช่น หากทำผิดกฎหมาย หรือกระทำการที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ซึ่งหลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชนสากล สรุปได้ดังนี้ 1.ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิทธิธรรมชาติที่คติดตัวมาตั้งแต่เกิด 2.เป็นสากล ไม่มี พรมแดน ไม่ขึ้นกับกฎหมายของรัฐใด 3.ความเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ 4.สัมพันธ์เชื่อมโยงกันไม่ สามารถแยกเป็นส่วนๆ 5.ไม่มีใครพรากไปได้ถ่ายโอนไม่ได้ 6.มีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิ 7.ตรวจสอบได้โดยหลักนิติธรรม โดยในเรื่องของการศึกษาระบบการติดตามผู้กระทำความผิดหลังได้รับการพ้นโทษ ใน คดียาเสพติดนั้น ได้มีความเกี่ยวกับกับทางด้านสิทธิมนุษยชนอยู่ด้วย เนื่องจากเป็นการติดตาม ผู้ที่เคยได้กระทำความผิดในบางราย เมื่อได้รับการปล่อยตัวออกมาใช้ชีวิตอย่างอิสระกับสังคมภายใน แล้วนั้น แต่ถ้าหากเห็นว่าบางรายยังคงมีความเสี่ยงที่จะกลับไปกระทำความผิดซ้ำในลักษณะที่ ก่อให้ความเสียหายเป็นอันตรายต่อสังคมและความมั่นคงของประเทศ ทางผู้ศึกษาจงเห็นควรว่ามี การติดตามเฝ้าระวังเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติมาตราการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3