2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
43 อย่างไรก็ตาม อนุสัญญายังมีข้อจำกัด เช่น ไม่ได้ครอบคลุมยาเสพติดบางชนิด เช่น กัญชา และไม่ได้ให้ ความสำคัญกับการลดความต้องการยาเสพติด 2.อนุสัญญ าว่าด้วยวัตถุที่ ออกฤทธิ์ต่อจิตและป ระส าท ค .ศ . 1971 (Convention on Psychotropic Substances, 1971) มีผลบังกับใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 1976 มีประเทศต่าง ๆ เข้าเป็น ภาคีแล้ว 183 ประเทศ โดยวัตถุที่ออกกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หมายถึง สารเคมีที่มีผลต่อระบบ ประสาทของมนุษย์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจิต อารมณ์ และพฤติกรรมเป็นสนธิสัญญาระหว่าง ประเทศที่สำคัญซึ่งออกแบบมาเพื่อควบคุมยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและป้องกันการใช้ยา ในทางที่ผิด โดยรายละเอียดของประเด็นสำคัญ คือ จำกัดการเบี่ยงเบนและการใช้สารออกฤทธิ์ทางจิต บางชนิดอย่างผิดกฎหมายตรวจสอบความพร้อมของสาร เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และ วิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย อนุสัญญาดังกล่าวได้กำหนดมาตรการควบคุมสำหรับประเทศ สมาชิกที่จะนำไปปฏิบัติ ได้แก่ การขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย และครอบครอง ข้อกำหนดในการเก็บบันทึกและการรายงาน มาตรการป้องกันการค้ามนุษย์และการเบี่ยงเบนความ สนใจ 3.อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันหรือเข้าร่วมภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2518 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เป็นอนุสัญญาที่ระบุความผิดและการลงโทษ การริบทรัพย์ผู้ค้ายาเสพติด การให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน ทางกฎหมายด้านพยานหลักฐาน ระหว่างประเทศ เพื่อให้มีผลในการลงโทษผู้กระทำความผิดได้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดปัญหาการ ลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตลอดจนเพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการที่ ผิดกฎหมายที่มีต่อยาเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และเป็นการตัดทอนผลตอบแทน อันเกิดจากการลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สาระสำคัญของอนุสัญญา ฉบับนี้ มีข้อกำหนด 34 ข้อ ที่สำคัญ ได้แก่ การยึดทรัพย์สินนักค้ายาเสพติดการให้ความร่วมมือ ทางอาญา การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การสกัดกั้น การลักลอบค้ายาเสพติดทางทะเล การสกัดกั้นการ ฟอกเงินที่ได้จากการค้ายาเสพติด การควบคุมการส่งผ่านยาเสพติด เป็นต้น (บุศรา เข็มทอง, 2558) ภายใต้พันธกรณีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยยาเสพติดดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ส่งผลให้แต่ละประเทศ อนุวัติการกฎหมายภายในของตนเพื่อให้มีความสอดคล้องกับอนุสัญญา เพื่อช่วยสร้างความมั่นคงและ ความเป็นระเบียบในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยกระตุ้นให้ประเทศภาคีร่วมมือกันเพื่อบรรลุ เป้าหมายร่วมกันในการแก้ปัญหายาเสพติด เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์และมาตรฐานร่วมกัน ซึ่งช่วยลดความยุ่งยาก ความขัดแย้ง และความไม่แน่นอน ภาคีแต่ละประเทศจะมีนโยบาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3