2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

44 ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่แตกต่างกันไป จึงส่งผลให้การบัญญัติกฎหมายยาเสพติด แต่ละประเทศ ตลอดจนถึงประเทศไทยที่ได้ในความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาของยาเสพติด 2.10 กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ 2.10.1 กฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง 2.10.1.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศไทย รับรองการคุ้มครองในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยในส่วนของประเด็น ปัญหาศึกษา ระบบการติดตามผู้กระทำความผิดหลังพ้นโทษในคดียาเสพติดนั้นอาจมีความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ในเรื่อง ของการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล โดยในประเด็นปัญหาศึกษาระบบการติดตามผู้กระทำ ความผิดหลังพ้นโทษในคดียาเสพติดนั้นจำเป็นต้องมีเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ รวมถึง ภาคเอกชนและภาคของประชาชนเข้ามามีบทบาทในการติดตามสอดส่องอยู่บ้าง แต่เพื่อใช้ในการ ป้องกันและเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรมที่อาจจะเกิดจากปัญหายาเสพติด สร้างความปลอดภัยให้ สังคมแก้ไขปัญหาและลดอัตราการกระทำความผิดซ้ำเกี่ยวกับคดียาเสพติดเฉพาะในส่วนของผู้ขาย เท่านั้น 2.10.1.2 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กรมคุมประพฤติ เป็นส่วนราชการในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจตามมาตรา 33 (3) กระทรวง ยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวยความ ยุติธรรมในสังคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม 2.10.1.3 พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ ได้กำหนดเรื่องการแก้ไข พัฒนาพฤตินิสัยและการ เตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขังไว้ดังนี้ มาตรา 42 เพื่อประโยชน์ในการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาพฤตินิสัย ผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดีให้อธิบดีจัดให้มีระบบการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้วยวิธีการและ แนวทางที่เหมาะสมเกี่ยวกับการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง โดยให้ผู้ต้องขังได้รับการศึกษา การอบรมทั้ง ด้านคุณธรรมและจริยธรรม การทำงาน การฝึกวิชาชีพ การปฏิบัติศาสนกิจ การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3