2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

46 สาธารณสุข ตลอดจนหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการให้การสงเคราะห์ การให้การ สงเคราะห์แก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานคุมประพฤติสนับสนุนและส่งเสริม ให้บุคคลนั้นได้รับ การสงเคราะห์ในด้าน สิ่งจําเป็นในการดำรงชีพ ด้านการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยทางกายและจิต ด้านการให้ความรู้และการฝึกอบรม ด้านทักษะชีวิต ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือในด้านอื่น ๆ ที่ จําเป็น ต่อการดำรงชีวิต ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวจะทำงาน ให้พนักงานคุมประพฤติ สนับสนุนและ ส่งเสริมให้บุคคลดังกล่าว เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน ให้รัฐสนับสนุนหรือ ส่งเสริมให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการรับบุคคลตามมาตรา 41 เข้าทำงานในสถาน ประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ใน สังคมได้ และเพื่อเป็นการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำตลอดจนป้องกันอาชญากรรม การบริหาร จัดการ การกำหนดมาตรฐานการสงเคราะห์ รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ รวมถึง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้การสงเคราะห์ตามหมวดนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรี กำหนด มาตรา 41 ให้พนักงานคุมประพฤติให้การสงเคราะห์ตามควรแก่บุคคล ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ถูกสืบเสาะและพินิจ (2) ผู้ถูกคุมความประพฤติหรือผู้พ้นจากการคุมความประพฤติ (3) ผู้อยู่ระหว่างการตรวจพิสูจน์และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือ ผู้ผ่านการฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (4) ผู้อยู่ระหว่างการทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ (5) ผู้ได้รับการปล่อยตัวเมื่อพ้นโทษหรือได้รับพระราชทานอภัยโทษ (6) เด็กหรือเยาวชนที่ได้รับการปล่อยตัวพ้นจากการฝึกอบรมครบตามคํา พิพากษาแล้ว (7) ผู้พ้นจากการถูกกักขังแทนค่าปรับหรือผู้พ้นจากการทำงานบริการสังคม หรือสาธารณประโยชน์ แทนค่าปรับ (8) บุคคลอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 42 ในการให้การสงเคราะห์ตามหมวดนี้ พนักงานคุมประพฤติอาจ มอบหมายอาสาสมัครคุมประพฤติ หรืออาจทำความตกลงเพื่อมอบหมายหรือส่งต่อให้ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน หรือองค์กรอื่น ที่ให้ความร่วมมือก็ได้ ในกรณีบุคคลตามหมวดนี้เป็นเด็กหรือเยาวชนซึ่งตกอยู่ในสภาพจําต้องได้รับการสงเคราะห์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3