2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

47 หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ พนักงานคุมประพฤติจะต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและแจ้งต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กโดยมิชักช้า จากพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 หน้าที่ในการสืบเสาะ ติดตาม ดูแลและแก้ไขฟื้นฟู ผู้อยู่ระหว่างการตรวจพิสูจน์และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือผู้ผ่าน การฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 41(3) และผู้ได้รับการปล่อยตัวเมื่อพ้นโทษหรือได้รับ พระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 41(5) เป็นหน้าที่ของหน่วยงานคุมประพฤติในการช่วยให้บุคคล เหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามสมควรทั้งด้านการศึกษา สุขอนามัย การประกอบอาชีพในการหาผู้ประกอบการให้รับบุคคลเขาเหล่านี้เข้าทำงาน ตลอดจนการให้ความ ช่วยเหลือในด้านอื่น ๆ ที่จําเป็น ต่อการดำรงชีวิตโดยในการให้การสงเคราะห์สามารถอาจมอบหมาย อาสาสมัครคุมประพฤติ หรืออาจทำความตกลงเพื่อมอบหมายหรือส่งต่อให้ส่วนราชการ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน หรือองค์กรอื่น ที่ให้ความร่วมมือก็ได้ แต่ ในทางปฏิบัติบุคคลเมื่อถูกปล่อยตัวออกมาแล้วหรือได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดก็ยยังคง ต้องการความอิสระในการใช้ชีวิต บุคคลเหล่านี้จะค่อนข้างต่อต้านเมื่อมีหน่วยงานของราชการเข้ามา ติดตาม สอดส่องเพราะถือว่าเขาไม่เป็นอิสระ แต่ในมาตรา 42 นั้นสามารถแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ได้คือ พนักงานคุมประพฤติสามารถมอบหมายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้ามา ช่วยเหลือในการติดตามดูแลและช่วยเหลือเนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นความใกล้ชิด กับบุคคลเหล่านี้มากกว่าหน่วยงานของรัฐ สามารถเห็นถึงสภาพการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันและเกิด ความสนิทสนมกันมากกว่าสามารถพูดคุยและช่วยเหลือกันได้ 2.10.1.5 พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับ เพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 พระราชบัญญัตินี้ถูกบัญญัติขึ้นมาเนื่องจากผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ บางประเภทที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง เช่น การฆาตกรรม การข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำ ความผิดทางเพศกับเด็ก การทำร้ายจนเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การทำร้ายร่างกายสาหัส รวมทั้งการนำตัวบุคคลไปเรียกค่าไถ่ เมื่อได้รับการ จำคุกจนพ้นโทษแล้วจะได้รับการปล่อยตัวสู่สังคม โดยอิสระ แม้จะมีการติดตามจากเจ้าพนักงานตำรวจ หรือฝ่ายปกครองบ้างแต่ก็ไม่มีสภาพบังคับเป็น กฎหมายและไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ เพื่อป้องกัน สังคมและผู้เสียหาย จากการกระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่อาจเกิดขึ้นอีก เพื่อส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟู ผู้กระทำความผิด อุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องคำสั่งดังกล่าวอย่างเหมาะสมแล้ว โดยกระทำความผิดลักษณะที่ทำให้สังคมเกิดความหวาดกลัวและก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3