2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

50 ความเหมาะสมของแต่ละกรณี หากผู้ได้รับการพักโทษฝ่าฝืนเงื่อนไขการคุมประพฤติ อาจถูกเพิกถอน การพักการลงโทษ และถูกส่งกลับไปยังเรือนจำเพื่อรับโทษต่อ จากกฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษ เด็ดขาดซึ่งได้รับการพักการลงโทษต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 ได้ศึกษาถึงการนำมาใช้เป็นแนวทางการ สร้างหลักการเรื่องระบบการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด โดยหากมีการนำมาปรับใช้กับผู้พ้นโทษ ทั้งหมดนั้นจะส่งผลดีต่อการติดตาม สอดส่อง ดูแลสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการวิจัยทบทวน วรรณกรรมใน บทที่ 2 นี้ ทางผู้วิจัยจะนำไปสู่การวิเคราะห์ในบทที่ 4 ต่อไป 2.10.1.8 ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจำแนกลักษณะ ผู้ต้องขังและการแยกคุมขังการเลื่อนหรือลดชั้นนักโทษเด็ดขาด การลดวันต้องโทษจำคุก และการพัก การลงโทษ การจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง หมายความว่า กระบวนการในการปฏิบัติต่อ ผู้ต้องขังเป็นรายบุคคลเริ่มแต่วาระแรกที่รับตัวผู้ต้องขังเข้าสู่เรือนจำจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัว พ้นโทษ โดยการศึกษาวิเคราะห์ประวัติภูมิหลัง บุคลิกลักษณะและสภาพทั่วไปของผู้ต้องขัง รวมทั้ง ประวัติการกระทำความผิดและสาเหตุแห่งการกระทำความผิด เพื่อให้สามารถกำหนดแผนการ ควบคุม แก้ไข บำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง และการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยในการ แยกคุมขังเมื่อรับตัวผู้ต้องขังเข้าไว้ในให้เรือนจำคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ด้วย 1.เพศ 2.อายุ 3.สถานะ ทางคดี 4.ข้อหาหรือความผิดที่ได้กระทำ 5.กำหนดโทษของผู้ต้องขัง 6.ความเจ็บป่วยและ 7.การเป็นผู้ที่กระทำความผิดในคดีเดียวกัน (คู่คดี) โดยการแยกคุมขัง หมายความว่า การแยกผู้ต้องขัง ไว้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ในด้านการควบคุม เพื่อป้องกันการมั่วสุม และการถ่ายทอดลักษณะนิสัยอาชญากรแก่กัน โดยต้องดำเนินการหลังจากที่ได้มีการจำแนกลักษณะ ของผู้ต้องขังเบื้องต้นแล้วการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ ในการกลั่นกรองผู้ต้องขัง โดยมีการจัดกลุ่มผู้ต้องขังเพื่อแบ่งระดับการควบคุมและการจัดกลุ่มผู้ต้องขัง ตามความเหมาะสมในการแก้ไขการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังเพื่อการพัฒนาพฤตินิสัย มีวัตถุประสงค์ เพื่อน ำข้อมูลที่ ได้มา ใช้ ในการวิ เคราะห์ การวางแผน การ ปฏิบัติต่อผู้ต้องขั งแต่ละคน ตามความเหมาะสมกับหลักสูตรการพัฒนาพฤตินิสัยต่างๆ การจำแนกลักษณะผู้ต้องขังเพื่อ การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ของผู้ต้องขังแต่ละคนตามความเหมาะสม เพื่อมิให้ผู้ต้องขังหวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ รวมถึง การให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือผู้ต้องขังในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถกลับคืนสู่สังคมได้ ตามปกติ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3