2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
52 ที่กรมราชทัณฑ์กำหนดโดยในข้อที่ 7 ได้ระบุว่าผู้ต้องขังที่จะถือว่าเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรม ในแต่ละหลักสูตรนั้น ต้องผ่านการประเมินผลตามเกณฑ์ที่กรมราชทัณฑ์กำหนด 2.10.1.10 ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขัง พ.ศ.2561 เพื่อให้มีกระบวนการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ต้องขังได้อย่างถูกวิธีและ เหมาะสม เพื่อให้ผู้ต้องขังแต่ละคนสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมภายหลังพ้นโทษได้อย่างเหมาะสม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 64 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เมื่อเรือนจำได้รับตัวผู้ต้องขังที่คดีถึงที่สุดแล้ว ทางระเบียบได้ให้จัดเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ต้องขัง นั้นเพื่อการปล่อยตัวกลับไปใช้ชีวิตในสังคมภายหลังพ้นโทษตามความเหมาะสม เช่น การจัด ให้มีกิจกรรมหรือการอบรม เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้ต้องขังและครอบครัว เพื่อให้ความช่วยเหลือใน ขั้นการปรับตัวสู่สังคมหรือให้มีความช่วยเหลือด้านสังคมสงเคราะห์แก่ผู้ต้องขังตามสภาพปัญหาและ ความจำเป็น ในข้อที่ 7 ของระเบียบฉบับนี้ได้มีการจัดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัว โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ต้องขังได้เป็นทรัพยากรบุคคลที่ดี มีคุณค่าต่อสังคม และเตรียมตัวเพื่อออกไป ใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวและสังคมได้อย่างปกติสุข โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วยกิจกรรม 4 ด้าน คือ 1.การพัฒนาด้านร่างกาย การฝึกและเสริมสร้างระเบียบวินัย 2.การพัฒนาด้านจิตใจ ความคิดและ ทักษะการใช้ชีวิต 3.การส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวและการเตรียมตัวกลับเข้าสู่สังคมและ 4.การเตรียมความพร้อมด้านการประกอบอาชีพ อีกทั้งให้เรือนจำจัดให้มีอาสาสมัครหรือวิทยากร ด้านต่างๆ เช่น นักจิตวิทยา ผู้มีความรู้ทางกฎหมาย ผู้ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์หรือผู้มีความรู้ เฉพาะทางอื่น ๆ เพื่อการแนะนำให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขัง โดยอาสาสมัครหรือวิทยากรดังกล่าว ให้ขึ้นทะเบียนไว้กับเรือนจำ เพื่อให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ผู้ต้องขังก่อนได้รับการปล่อยตัว 2.10.2 กฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการติดตามผู้กระทำความผิดหลังพ้นโทษ 2.10.2.1 สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีการตราพระราชบัญญัติฟื้นฟูผู้กระทำความผิด พ .ศ . 2517 ห รือ เรียกว่ า “ The Rehabilitation of Offender Act 1974”(Guidance on the Rehabilitation of Offenders Act 1974 and the Exceptions Order 1975, 2014) มี ไว้ เพื่ อ สนับสนุนการแก้ไขฟื้นฟูของผู้กระทำผิดเป็นการเฉพาะ พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้กระทำ ผิดให้สิทธิแก่บุคคลที่ถูกพิพากษาลงโทษและตักเตือนที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลเหล่านี้เมื่อสมัครงาน ส่วนใหญ่และซื้อประกัน ยกเว้นผู้ที่ได้รับโทษจำคุกมากกว่า 4 ปีแล้วจะต้องเปิดเผยข้อมูลการต้องโทษ ต่อนายจ้างหรือหน่วยงานไปจนตลอดชีวิต แต่หากบุคคลนั้นถูกจำคุกไม่เกิน 4 ปีก็จะถูกมาตรการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3