2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
53 “เปิดเผยข้อมูลการต้องโทษในการสมัครงาน” ตามกรอบระยะเวลาที่ กฎหมายกำหนด เช่น ผู้ที่ถูก จำคุกตั้งแต่ 2 ปีครึ่ง แต่ไม่เกิน 4 ปี เมื่อจะทำการสมัครงานหลังพ้นโทษจะต้องเปิดเผย ข้อมูล การต้องโทษต่อนายจ้างหรือหน่วยงานในระยะเวลา 7 ปี นับแต่การพ้นโทษ ส่วนอำนาจหน้าที่ ได้ถูกกล่าวใน พระราชบัญญัติว่าด้วยการดูแลช่วย เหลือ ค .ศ .2014 หรือ “The Care Act 2014”(Care Act, 2014) ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานคุมประพฤติร่วมกับองค์กรส่วนท้องถิ่น โดยจะมุ่งเน้นให้องค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลและติดตามผู้พ้นโทษเป็นสำคัญโดยพระราชบัญญัติ ระบุชัดเจนว่าท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลและประเมิน การประเมินจะต้องพิจารณาว่าความต้องการของบุคคล ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีและมีผลลัพธ์อย่างไรทำให้บุคคลผู้พ้นโทษบรรลุผลในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยต้องเน้นที่ผลลัพธ์ของบุคคลและเจ้าหน้าที่ต้องปรึกษาผู้ดูแลด้วย เหตุผลที่ทางผู้วิจัยหยิบยกกฎหมายของประเทศอังกฤษขึ้นมาประกอบ เนื่องจากผู้วิจัย เห็นด้วยกับการบัญญัติกฎหมายของประเทศอังกฤษในเรื่องของการแก้ไขฟื้นฟู ผู้พ้นโทษและยังคงมีการคุ้มครองสิทธิของผู้พ้นโทษเท่าที่จำเป็นอีกทั้งในเรื่องของการติดตามดูแล จะมุ่งเน้นให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลและประเมินเป็นหลัก โดยเหตุผลที่มีความใกล้ชิด สามารถสอดส่องได้ถึงการใช้ชีวิตประจำวันว่าบรรลุผลตามผลลัพธ์ที่ทางหน่วยงานคาดหวังไว้ 2.10.2.2 สาธารณรัฐออสเตรีย The Serious Offenders Act 2018 หรือพระราชบัญญัติผู้กระทำความผิด ร้ายแรง พ.ศ. 2561 (Serious Offeners Act, 2018) ตามมาตรา 1 พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กล่าวถึง วัตถุประสงค์ออกเป็น 2 ประการ คือ ประการแรกเพื่อปกป้องคุ้มครองสังคมให้ปลอดภัยขึ้น โดยกำหนดให้ผู้กระทำผิดที่ได้รับโทษจำคุกในความผิดทางเพศร้ายแรงบางประเภทหรือความผิด เกี่ยวกับคดีอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงและผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสังคม อย่างไม่อาจยอมรับได้ หรือเพื่อสร้างสังคมให้ปลอดภัยจากผู้จากการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำ ความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงและประการที่สองเพื่ออำนวยความสะดวกในการฟื้นฟูแก้ไข ผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงโดยจะมีเรื่องของเงื่อนไขคำสั่งควบคุมเพื่อลดความเสี่ยง ที่ผู้กระทำความผิดจะกระทำความผิดซ้ำโดยผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ซึ่งจะมีมาตรการคำสั่งควบคุมประพฤติหรือเฝ้าระวังภายหลังจากได้รับการพ้นโทษ โดยจะต้อง ประเมินความเสี่ยงและยื่นขอต่อศาลเพื่อขอคำสั่งกำกับดูแลเฝ้าระวังในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ที่เป็นผู้กระทำผิด ซึ่งคำสั่งควบคุมดูแลและติดตามให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ศาลสั่งเป็นระยะเวลาไม่เกิน 15 ปีนับแต่พ้นโทษตามมาตรา 19(1) โดยเงื่อนไขคุมประพฤติศาลจะต้องกำหนดเงื่อนไขหลัก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3