2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
57 หรือไม่ต้องอยู่ภายใต้การเฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในขณะที่กฎหมายต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศออสเตรเลีย ประเทศฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร ล้วนแต่มีมาตรการป้องกันการกระท ำ ความผิดซ้ำภายหลังพ้นโทษจากเรือนจำการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของ ผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงน่าจะเป็นแนวทางสร้างความปลอดภัยให้กับสังคม โดยกำหนดมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเฉพาะรายตั้งแต่อยู่ในเรือนจำ การคุมประพฤติหรือ เฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ (supervision orders) การคุมขังภายหลังพ้นโทษ (detention orders) และการคุมขังฉุกเฉิน (emergency detention orders) ทั้งนี้ ในทุกมาตรการจะต้องกำหนด กระบวนการในการออกคำสั่งโดยศาลซึ่งเป็นองค์กรอิสระและเป็นกลาง โดยมีการประเมินความเสี่ยง ในการกระทำความผิดซ้ำโดยฝ่ายบริหาร คือ พนักงานคุมประพฤติและพนักงานอัยการ และ มีการคุ้มครองสิทธิของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง เช่น สิทธิต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรม สิทธิในการมีทนายความ และควรเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเข้ามาให้ข้อสังเกตในการพิจารณาออกคำสั่ง ต่าง ๆ ด้วย (ปกป้อง ศรีสนิท, 2564) งานวิจัยเรื่อง มาตรการกำกับติดตามผู้พ้นโทษคดีอุกฉกรรจ์ อดิศักดิ์ คงแก้ว และ อัคคกร ไชยพงษ์ (2564) นำเสนอถึงการศึกษาเกี่ยวกับการเฝ้าระวังติดตามผู้พ้นโทษ การคุมประพฤติ ผู้พ้นโทษทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การสร้างมาตรการกำกับติดตาม ผู้พ้นโทษที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำที่อาจจะเกิดขึ้นจากผู้พ้นโทษ ที่เคยก่ออาชญากรรมที่รุนแรงในบางประเภทคดีที่สังคมมองว่าเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรง ผลการ วิจัยพบว่า การสร้างมาตรการเพื่อการกำกับติดตามผู้พ้นโทษของประเทศไทย โดยมีกระทรวงยุติธรรม เป็นแม่งานในการขับเคลื่อนหลักนั้น ณ รูปแบบปัจจุบัน กล่าวได้ว่าเป็นการสร้างมาตรการขึ้น โดยอาศัยการสนธิกำลังของหน่วยงานฝ่ายปกครอง ตำรวจ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในทาง บูรณาการการทำงานเข้าด้วยกัน โดยอาศัย "มติคณะรัฐมนตรี" ผ่าน "คำสั่งการของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุติธรรม" เท่านั้น แต่มิได้มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติตราขึ้นเพื่อการเฉพาะกิจ แต่อย่างใด ประกอบกับ "พระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ.2559"และ"พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 " และ "ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวผู้ต้องขัง พ.ศ. 2561" นั้น ก็มิใช่กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อการดังกล่าวโดยตรงแต่อย่างใดและการดำเนินงาน ในทางบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ด้วยกัน ก็ยังคงเป็นการอาศัยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และนโยบายในเชิงแนวปฏิบัติจากกระทรวงยุติธรรมเท่านั้นด้วยเหตุเช่นนี้ มาตรการกำกับติดตาม ผู้พ้นโทษในคดีอุกฉกรรจ์ของประเทศไทย จึงยังคงอยู่ในระยะเตรียมความพร้อม และยังมีความจำเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3