2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

58 ที่จะต้อ งมีการพัฒ น าโดยการตราขึ้น เป็นบทกฎหมาย โดย เฉพาะ ทั้ งนี้ เพื่อแสดงออก ในทางสร้างหลักประกันแก่สังคมต่ออาชญากรที่อาจจะหวนกลับมากระทำความผิดซ้ำขึ้นอีก ในทาง “ป้องกันผล” มากกว่าการ “แก้ไขปัญหา” (อดิศักดิ์ คงแก้ว & อัคคกร ไชยพงษ์, 2564) งานวิจัยเรื่อง การฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในงานคุมประพฤติของชุมชน จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรกฎ ทองขะโชค , เอกราช สุวรรณรัตน์และอภิวัฒน์ สมาธิ ( 2562 ) นำเสนอถึงบทบาท ของอาสาสมัครคุมประพฤติและเครือข่ายคุมประพฤติกับการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด โดยศึกษา ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติ อาสาสมัคร คุมประพฤติ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สนทนากลุ่มเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ผู้ได้รับการฟื้นฟู โดยอยู่ระหว่างการคุมประพฤติ ผู้ที่ได้รับการสงเคราะห์หลังปล่อย และผู้ที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติดและสังเกตกระบวนการฟื้นฟูในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนโดยอาสาสมัครคุมประพฤติและเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ทำให้เกิดรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ๆ โดยอาสาสมัครคุมประพฤติซึ่งบางคน ก็เป็นคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเครือข่ายยุติธรรมชุมชนรูปแบบดำเนินการ ทั้งเข้ารับการฝึกอบรมทางศาสนาในวัด มัสยิด และมีการทำงานบริการสังคมโดยเมื่อผู้กระทำความผิด สมัครใจ ในการเข้าทำงานบริการสังคม และในบางรายสมัครใจที่ขอฝึกอาชีพก็จะส่งไปฝึกหัดอาชีพ กับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเลี้ยงสัตว์ อาสาสมัครคุมประพฤติ และเครือข่ายยุติธรรมชุมชนในจังหวัด ชายแดนภาคใต้เป็นผู้มีจิตสาธารณะ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญ คือ การอุทิศเวลา ทำให้ลดภาระงาน ของเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติได้เป็นจำนวนมาก โดยจะให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นหลัก คำนึงถึงชุมชนต้องการให้กลุ่มผู้ที่รอการลงโทษ ในส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจอาสาสมัครคุมประพฤติ บางส่วนขาดกำลังใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ เพราะเกิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้นทั้งด้านเงินและเวลา ในการทำงาน ในส่วนอำนาจหน้าที่ของอาสาสมัครคุมประพฤติมีระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยอาสาสมัครคุมประฤติ พ.ศ. 2547 รองรับ แต่ในส่วนของเครือข่ายยุติธรรมชุมชนและ หน่วยงานภาคีการฟื้นฟูผู้กระทำผิดยังไม่มีกฎหมายรองรับ จึงจำเป็นต้องบัญญัติพระราชบัญญัติ ยุติธรรมชุมชนรองรับอำนาจหน้าที่ของเครือข่ายยุติธรรมชุมชนและหน่วยงานภาคีไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูผู้กระทำความผิด (กรกฎ ทองขะโชค et al., 2562) งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางอุดรธานี ภานุวัฒน์ มีเพียรและบุญเหลือ บุบผามาลา (2565) นำเสนอถึงปัจจัยที่ทําให้มีการกระทําผิดซ้ำ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3