2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
59 ในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจํากลางอุดรธานี โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่ทําให้ มี ก า ร ก ร ะทํ า ผิ ด ซ้ ำ เป็ น อัน ดั บ ห นึ่ งคื อ ด้ าน เศ รษ ฐ กิ จ ร อ งล งม า คื อ ด้ าน ค ร อบ ค รั ว ส่วนด้านการต้องโทษในครั้งก่อน ด้านชุมชนและสังคม ด้านการประกอบอาชีพ และด้านการคบเพื่อน อยู่ในระดับปานกลาง ตามลําดับการเปรียบเทียบปัจจัยที่ทําให้มีการกระทําผิดซ้ำในคดียาเสพติด ของผู้ต้องขังเรือนจํากลางอุดรธานี ที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน พบว่า ผู้ต้องขังที่มีอาชีพ ก่อนต้องโทษ รายได้ก่อนต้องโทษ ประเภทของยาเสพติด ฐานความผิด และกําหนดโทษจําคุกต่างกัน มีปัจจัยที่ทําให้มีการกระทําผิดซ้ำ โดยภาพรวมและรายได้ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ต้องขังที่มีอายุต่างกัน มีปัจจัยที่ทําให้มีการกระทําผิดซ้ำ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แนวทางป้องกันการกระทําผิดซ้ำ ในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจํากลางอุดรธานี ควรมีการฝึกอาชีพให้ตรงตามความต้องการ ของผู้ต้องขัง หรือหลากหลายสาขาอาชีพมากขึ้น เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถนําไปประกอบอาชีพได้จริง ภายหลังพ้นโทษ และควรมีการจัดอบรมโปรแกรมปรับทัศนคติของผู้ต้องขังเกี่ยวกับผลกระทบ ที่เกิดขึ้นต่อตนเองและครอบครัวขณะต้องโทษอยู่ในเรือนจํา รวมถึงจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในครอบครัวให้มีความรักความเข้าใจกันมากขึ้น (ภานุวัฒน์ มีเพียร & บุญเหลือ บุบผา มาลา, 2565) งานวิจัยเรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนและเอกชนในการดูแลผู้กระท ำผิด เพื่อหันเหผู้กระทำความผิดออกจากกระบวนการยุติธรรม กรกฎ ทองขะโชค , จิดาภา พรยิ่ง จิรนันท์ ไชยบุปผา , ชลีรัตน์ มเหสักขกุล , วิรัตน์ นาทิพเวทย์ และ หทัยกาญจน์ กำเนิดเพชร (2566) นำเสนอถึงสภาพปัญหาการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนและเอกชน ในการจำแนก คัดกรอง การพัฒนาพฤตินิสัย การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย และการติดตามหลังปล่อยรวมถึง การช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ โดยประเด็นหลักของการวิจัย คือ เพื่อถอดบทเรียนกระบวนการ ทำงานของเรือนจำในประเทศไทยทบทวนมาตรการกลไกที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ชุมชนและองค์กรเอกชนเพื่อหันเหผู้กระทำผิดออกจากกระบวนการยุติธรรม ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การจำแนก คัดกรองในการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ไม่สัมพันธ์กับการช่วยเหลือสงเคราะห์ ผู้พ้นโทษ จำเป็นต้องสร้างกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยโดยให้องค์กรชุมชน และเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การสืบเสาะข้อมูลชุมชนของผู้ต้องขังที่ใกล้ได้รับการปล่อยตัว ในการนำมาแยกกลุ่มอาชีพเพื่อฝึกทักษะอาชีพเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยที่เหมาะสมแต่ละรายและ ตรงกับกลุ่มอาชีพหลังการปล่อยตัวได้ ดังนั้นการสนับสนุนและส่งเสริมการฝึกอบรมการพัฒนาความรู้ เพิ่มทักษะด้านกลุ่มอาชีพที่ผ่านการวิเคราะห์ของคณะกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3