2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
60 โดยการแนะแนวให้คำปรึกษาจึงเป็นอีกกระบวนการหนึ่งในการจำแนกการพัฒนาพฤตินิสัย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยสู่สังคมตามกลุ่มอาชีพที่ได้ฝึกอบรมจึงจำเป็นอย่างมากที่หน่วยงาน ส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นต้องสร้างการเข้าถึงสวัสดิการและช่วยเหลือสงเคราะห์ เพื่อให้ผู้พ้นโทษและครอบครัวได้รับการติดตามดูแลและช่วยเหลือจากหน่วยในระดับท้องถิ่น โดยคณะผู้วิจัยได้ถอดบทเรียนให้จัดตั้งในลักษณะเครือข่ายเป็นศูนย์ยุติธรรมชุมชน ศูนย์คุมประพฤติ ภาคประชาชน เพราะเป็นหน่วยระดับในระดับชุมชนซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พ้นโทษ จะเป็นผลสำเร็จได้จะต้องอาศัยความร่วมมือและการบูรณาการของทุกส่วนราชการ องค์กรชุมชน และองค์เอกชนซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับผู้พ้นโทษ ดำเนินการติดตามดูแลและให้ความช่วยเหลือ จึงมีความเป็นไปได้และเหมาะสมมากที่สุดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้พ้นโทษ (กรกฎ ทองขะโชค & คณะ, 2566) งานวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการสร้างโอกาสฟื้นฟูผู้พ้นโทษกลับคืน สู่สังคม กานต์สินี องอาจ และ จันทราทิพย์ สุขุม (2564) นำเสนอถึงสภาพปัญหาของการมีส่วนร่วม ของศูนย์ยุติธรรมชุมชนเพื่อคืนคนดีสู่ สังคมพร้อมทั้งกำหนดรูปแบบข้อตกลงในการสร้างโอกาสเพื่อ ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่าสังคมมีทัศนคติในด้านลบต่อผู้ต้องขังที่ได้รับ การปล่อยตัว การประสานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีงานรองรับหลังจาก ที่ผู้ต้องขังที่พ้นโทษ สื่อและข่าวสารที่สังคมได้รับเกี่ยวกับผู้ต้องขังที่พ้นโทษเป็นไปในด้านลบ ตลอดจนปัญหาที่สังคมไม่ตระหนักถึงความจำเป็นของการมีส่วนร่วมในการคืนคนดีสู่สังคม จึงเป็นสาเหตุสำคัญในการกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังหลังปล่อยในสังคม จำเป็นต้องกำหนด รูปแบบและการสร้างโอกาสที่เหมาะสมให้กับผู้พ้นโทษในการมีส่วนร่วมของศูนย์ยุติธรรมชุมชน เพื่อคืนคนดีสู่สังคม (กานต์สินี องอาจ & จันทราทิพย์ สุขุม, 2564) จากวารสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้ง เจ็ดเรื่องดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าประเทศไทย ยังไม่มีมาตรการในการติดตามหรือเฝ้าระวังผู้ที่เคยกระทำความผิดอย่างเป็นระบบให้เห็น เป็นการเฉพาะเรื่อง ผู้ที่เคยกระทำความผิดมักก่อให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำอีก ซึ่งอาจจะเป็นการ กระทำความผิดในลักษณะที่รุนแรงขึ้นและ การแก้ไขปัญหากลับมีการมุ่งเน้นไปที่ปลายเหตุมากกว่า การหาสาเหตุ กระบวนการของการทำงานที่หลายขั้นตอนจนทำให้ เกิดความล่าช้าและ ต้องขอความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเข้ามาแก้ไขปัญหาเพื่อป้องกันเกิดการกระทำความผิดซ้ำ กระบวนในเรื่องของการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยของผู้ต้องขังที่ค่อนข้างน้อย รวมถึงการจำแนก คัดกรองในการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ไม่สัมพันธ์กับการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3