2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
61 ในส่วนของหลักสูตรการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวโดยเฉพาะในด้านทักษะการสร้างอาชีพ อาจจะไม่ตรงชุมชนที่ผู้พ้นโทษอาศัยภายหลังได้รับการพ้นโทษและกระบวนการของทางเรือนจำ ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ โดยกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีหน่วยงานในสังกัดคือ กรมคุมประพฤติ เพียงหน่วยเดียวที่เป็นแม่หลักของงานในการติดตามเฝ้าระวังผู้พ้นโทษ แต่ยังคงพบปัญหา ในด้านของทรัพยากรบุคคลของรัฐที่ไม่เพียงพอ จึงต้องมีความจำเป็นให้ภาคเอกชนและ ภาคของประชาชนเข้ามาช่วยเหลือแต่ทั้งนี้ก็คงพบปัญหาอีกว่าการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในงานยุติธรรม มีข้อจำกัดในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้นทั้งด้านเงินและเวลา การทำงาน ส่วนอำนาจหน้าที่ของอาสาสมัครคุมประพฤติมีระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยอาสาสมัครคุมประฤติ พ.ศ. 2547 รองรับ แต่ในส่วนของเครือข่ายยุติธรรมชุมชนและ หน่วยงานภาคีการฟื้นฟูผู้กระทำผิดยังไม่มีกฎหมายรองรับและเมื่อผู้พ้นโทษได้รับการปล่อยตัว ทำให้เกิดปัญหาสังคมย่อมมีทัศนคติในด้านลบต่อผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษออกมา สถานประกอบการไม่ยอมรับบุคคลที่เคยกระทำความผิดเข้าทำงานจนทำให้เกิดการตีตรามองว่า ผู้ที่พ้นโทษออกมาจากเรือนจำนั้นไม่สามารถกลับตัวเป็นคนดีของสังคมได้ จึงทำให้ผู้พ้นโทษบางราย ไม่อาจจะทนรับแรงกดดันของสังคมได้ หมดหนทางในการดำรงเลี้ยงชีพ ไม่มีงานทำมาหากิน จนต้องกลับไปก่ออาชญากรรมในรูปแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดังนั้น วรรณกรรมที่ได้ทบทวน ในบทนี้ทางผู้วิจัยจะนำไปใช้เป็นข้อมูลเอกสารเพื่อประกอบการวิเคราะห์ตามประเด็นที่กำหนด ไว้ในการศึกษาระบบการติดตามผู้กระทำความผิดหลังได้รับการพ้นโทษในคดียาเสพติดต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3