2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาคำตอบอันเป็นเป้าหมายหลัก คือ กระบวนการติดตามผู้กรทำความผิดหลังได้รับการพ้นโทษในคดียาเสพติด โดยคำตอบดังกล่าวนี้ ย่อมจะมาจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ตามวิธีการวิจัย (Research Methodology) ที่กำหนดไว้ ดังนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลและ การวิเคราะห์หาคำตอบ จึงได้กำหนดระเบียบวิธีการ วิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร(Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth Interview) ข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการวิจัย มีวัตถุประสงค์ที่จะนำมาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดระบบการ ติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติดในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม โดยเป็นการสอดส่องและติดตาม ดูแลภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงการให้มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมด้วย เพื่อสร้างสังคม ให้เกิดความปลอดภัย ได้อย่างยั่งยืนโดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร โดยกำหนดประเภทของเอกสารและประเด็นที่ ต้องการใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 , พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 , พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 , พระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 ,พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำใน ความผิด เกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 , ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 , ระเบียบกระทรวงยุติธรม ว่าด้วยหลักกณฑ์และวิธีการการจำแนกลักษณะ ผู้ต้องขังและการแยกคุมขัง การเลื่อนหรือลดชั้นนักโทษเด็ดขาด การลดวันต้องโทษจำคุกและการพักการลงโทษ , ระเบียบกรม ราชทัณฑ์ว่าด้วยการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง พ.ศ.2561 , ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการเตรียม ความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขัง พ.ศ.2561 และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการทบทวน วรรณกรรมที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รวมทั้งรายงานวิจัย ตำรา และบทความทั้งของไทย และต่างประเทศ ข้อมูล เอกสารที่ได้มามีทั้งข้อมูลปฐมภูมิ ( Primary data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระบบการติดตามผู้กระทำความผิดหลังได้รับการพ้นโทษ ในคดียาเสพติดเอกสารที่ทบทวนและวิเคราะห์นั้น ได้กำหนดประเด็นหัวข้อ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3