2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

65 ระบบการติดตาม ผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด รวมถึงคัดออกผู้ให้ข้อมูลที่มีประสบการณ์การทำงานไม่ถึง 2 ปี 3.2.2 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ให้ข้อมูลในการเก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 3 คน รวมจำนวนทั้ง 12 คน ดังนี้ 1) กลุ่ม เจ้าพนักงานประจำเรือนจำ จำนวน 3 คน เนื่องจากเป็นผู้มี หน้าที่เกี่ยวข้องในการ ปกครองและควบคุมระเบียบวินัย จัดการควบคุมการทำงาน การศึกษา ตลอดจนอบรมผู้ต้องขัง 2) กลุ่มเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานคุมประพฤติ จำนวน 3 คน เนื่องจาก มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ควบคุม สอดส่อง ติดตาม ดูแล ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือผู้กระทำผิดภายใต้เงื่อนไขการคุมความ ประพฤติ แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์ผู้กระทำผิดในชุมชน เสริมสร้าง สนับสนุนและประสานงานให้ ชุมชน เครือข่ายและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบเครือข่ายยุติธรรมชุมชน 3) กลุ่มผู้มีความชำนาญด้านกฎหมาย จำนวน 3 คน ได้แก่ อัยการ 1 ท่าน และ ทนายความ 2 ท่าน เนื่องจากบุคคลกลุ่มดังกล่าว มีความสามารถและความชำนาญในเรื่องกฎหมายโดยเฉพาะ 4) กลุ่มผู้นำเครือข่ายยุติธรรมชุมชน จำนวน 3 คน เนื่องจาก ได้ผ่านการอบรม "หลักสูตร เครือข่ายยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม" โดยสามารถทำงานร่วมกันกับหน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งหัวใจ สำคัญของความสำเร็จในการดำเนินภารกิจต่างๆของหน่วยงานรัฐ ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้สัมผัส มีส่วนได้ส่วนเสียกับความยุติธรรม และความสงบสุขในชุมชนนั้นๆ ได้มีโอกาสและมีช่องทางที่จะเข้า มามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง 3.2.3 ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลาเนื่องจากทั้งสองเป็นพื้นที่จำนวน ของผู้ต้องหาคดียาเสพติดเป็นจำนวนมาก และเพื่อเกิดประโยชน์แก่ประชากรในเขตพื้นที่จังหวัด สงขลาและภายในประเทศไทย จึงเป็นพื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจึงนำมาสู่ขอบเขตในด้านพื้นที่ ของการวิจัยในครั้งนี้ 3.3 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการติดตามผู้กระทำความผิดหลังได้รับการ พ้นโทษในคดียาเสพติด เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ( Structured Interview)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3