2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

66 1) สร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) 2) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่สร้างขึ้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ตรวจสอบความตรง ของเนื้อหา (Content of Validity) ของข้อซักถามแต่ละข้อเพื่อหาค่าความสอดคล้องของสิ่งที่ ต้องการวัดโดยการหาค่า IOC (Index of congruence) จากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้หลักเกณฑ์การ ประเมิน ดังนี้ +1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินสอดคล้องกับเนื้อหา 0 หมายถึง ไม่แน่ใจสิ่งที่ประเมินสอดคล้องกับเนื้อหา -1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินไม่สอดคล้องกับเนื้อหา 3) ปรับปรุงแก้ไขแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ 4) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ( Content of Validity) ยื่นต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้รับการรับรองแล้ว ตามแนวทางหลักจริยธรรมการวิจัยในคนที่เป็นมาตราฐานสากล ได้แก่ Declaration of Helsinki, The Belmont Report, CIOMS Guideline และ International Conference on Harmonization in Good Clinical Practice หรือ ICH-GCPตามใบรับรองที่ COA No.TSU 2024 037 REC No.0085 เมื่อได้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีความเชื่อมั่นแล้ว นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ไปเก็บข้อมูลเพื่อดำเนินการวิจัย โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ไปทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยตนเอง และเก็บรวบรวมข้อมูลตาม ประเด็นข้อคำถามที่กำหนดไว้ในแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างต่อไป 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยมีลำดับขั้นตอนในการวิเคราะห์ ดังนี้ 1) ผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยนำคำสัมภาษณ์ หรือบันทึกสัมภาษณ์จากผู้ ถูกสัมภาษณ์มาเปรียบเทียบระหว่างแต่ละบุคคล และจัดลำดับความสำคัญและคุณลักษณะของข้อมูล 2) นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ที่จัดลำดับความสำคัญแล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลทาง เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะได้ทราบถึง ลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกัน และแตกต่างกันของข้อมูล 3) นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และจากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และนำไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน แสดงความสำคัญของข้อมูลได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3