2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
69 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม อัตราการว่างงาน ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมและความเสื่อมโทรม ทางศีลธรรม เป็นต้น จากที่ทางผู้วิจัยได้กล่าวสถิติของการกระทำผิดซ้ำจากข้อมูลกรมราชทัณฑ์ในข้างต้นแล้วนั้น ทำให้เห็นว่าปัญหายาเสพติดยังคงเป็นเรื่องใหญ่สำหรับสังคมไทยและการเกิดอาชญากรรมที่เกี่ยว เนื่องมาจากเรื่องยาเสพติดนั้นก็ปรากฏให้เห็นได้ในทุกวัน โดยบางครั้งการเกิดอาชญากรรมอาจเกิด จากผู้พ้นโทษเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้วนั้นไม่สามารถกลับคืนสู่สังคมได้ อย่างปกติ และมักกลับไปกระทำผิดซ้ำอาจจะด้วยการตีตราว่าถูกประทับตราบาปขึ้นจากสังคม ทำให้ ผู้ที่เคยกระทำผิดนั้นเป็นผู้ที่มีมลทิน ถูกรังเกียจ ถูกสังคมประณามและทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม นั้นๆ หมดโอกาสที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองหรือบุคคลในครอบครัว เนื่องจากความไม่ไว้วางใจ ของคนในสังคม และเมื่อผู้ที่ถูกสังคมตีตราเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะทำให้กลายเป็นบุคคลที่ไม่สามารถ เข้าร่วมกับบุคคลอื่นๆได้ จึงต้องเข้าหาบุคคลในกลุ่มที่ถูกสังคมตีตราเหมือนกัน ซึ่งอาจจะเป็นหนทาง ในกลุ่มคนดังกล่าวไปก่อการกระทำความผิดซ้ำขึ้นอีก ซึ่งตามทฤษฎีของการกระทำความผิดซ้ำ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุด้วยกัน คือ 1. กระทำความผิดซ้ำจนเป็นนิสัย ซึ่งจะเป็นบุคคลที่ไม่สามารถจะปฏิบัติตนให้เข้ากับ มาตรฐานของสังคมได้ ไม่เกิดความเข็ดหลาบเมื่อต้องโทษ และจะประกอบอาชญากรรมซ้ำอีกเมื่อมี โอกาสโดยไม่คำนึงว่าผลที่เกิดจะเป็นอย่างไร ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการโจรกรรมไม่คิดเลิก เมื่อได้ต้องโทษ ก็แสร้งทำตัวดีและได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษออกมาก็จะทำความผิดซ้ำอีก จึงเรียกว่าผู้กระทำ ความผิดติดนิสัยหรือผู้ที่กระทำความผิดติดนิสัย โดยจะถือว่าอาชญากรอาชีพ เป็นผู้กระทำความผิดที่ มีความชำนาญในการประกอบอาชญากรรมหรือประกอบอาชญากรรมโดยอาศัยทักษะ หรือความ ชำนาญเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีรายได้หลักจากการประกอบอาชญากรรม เช่นเดียวกับ นักค้ายาเสพติดที่แม้จะได้รับการลงโทษตามกฎหมายแล้วเมื่อภายหลังพ้นโทษออกมาก็ยังคงจะ กลับไปค้ายาเสพติดซ้ำอีก เพราะ ถือว่าเป็นอาชีพที่สามารถทำให้ตนดำรงอยู่ได้โดยอาจจะมีแรงจูงใจ จากจำนวนเงินที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น 2.กระทำความผิดซ้ำเป็นจิตบกพร่อง เป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตนำไปสู่การประกอบ อาชญากรรมซ้ำซาก การที่ผู้กระทำความผิดประเภทนี้กระทำความผิดซ้ำ จึงไม่ได้เกิดจากความชั่วร้าย ในจิตใจที่คิดทำความผิดเพื่อหวังสิ่งตอบแทนทางเศรษฐกิจดังเช่น อาชญากรอาชีพ แต่เป็นผลจาก ความผิดปกติทางจิตดังกล่าวอาจก่อให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำซากหรือมีพฤติกรรมดุร้ายที่ทำให้ เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฆาตกรรมด้วยวิธีการที่ผิดปกติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3