2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

71 มีการฝึกอาชีพให้ตรงตามความต้องการของผู้ต้องขังหรือหลากหลายสาขาอาชีพมากขึ้น เพื่อให้ ผู้ต้องขังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริงภายหลังพ้นโทษ และตามระเบียบดังกล่าวยังไม่ได้มีการ แบ่งแยกลักษณะของผู้ต้องขังในฐานความผิดยาเสพติดในแต่ละฐานความผิดให้เห็นชัดว่าการเตรียม ความพร้อมในผู้ต้องขังคดียาเสพติดนั้นได้มีขั้นตอนในฟื้นฟูบำบัดในทุกด้านอันเป็นลักษณะเฉพาะ เพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำภายหลังได้ แต่ต่างจากผลสัมภาษณ์ของทางกลุ่มผู้มีความชำนาญ ในด้านกฎหมายที่ได้มองว่าการบำบัดฟื้นฟูในเรือนจำนั้นเป็นขั้นตอนหนึ่งในการฟื้นฟูนักโทษที่กระทำ ความผิดมาให้กลับตัวกลับใจเป็นคนดี แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้มีสิ่งใดมาการันตีหรือเป็นเครื่องยืนยันได้ ว่า ผู้พ้นโทษที่ผ่านขั้นตอนการบำบัดฟื้นฟูในเรือนจำมาแล้วจะทำให้กลับตัวกลับใจเป็นคนดีได้ ดังนั้น ทางกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในฐานะนักกฎหมายังมีความเห็นว่า การกระทำความผิดซ้ำไม่ได้เกิดจาก กระบวนการบำบัดฟื้นฟูในเรือนจำแต่เป็นเรื่องส่วนบุคคลของตัวนักโทษเองมากกว่า 2.กระทำผิดซ้ำจากการมีรายได้ในการกระทำความผิด เนื่องจากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมานั้น ทำให้เห็นว่าปัจจัยที่ทำให้ผู้พ้นโทษบางกลุ่มกลับมากระทำความผิดซ้ำมีอยู่หลายด้านหลายปัจจัย ด้วยกัน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านครอบครัว ด้านสังคมและชุมชน ด้านการประกอบอาชีพ และ ด้านการคบหาเพื่อน รองลงมาตามลำดับ ซึ่งจากข้อมูลรายงานสถิติราชทัณฑ์ รท.103 ได้สำรวจสถิติ นักโทษเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดโดยแยกตามประเภทคดีระหว่างปี 2565 ถึง 2566 พบข้อมูลของประเภทความผิดในคดียาเสพติดฐานความผิดที่มีอัตรากระทำความผิดมากที่สุดคือ ความผิดฐานรวมประเภทจำหน่าย ครอบครองเพื่อจําหน่าย รวมประเภทเสพ รองลงมาตามลำดับ โดยทำให้เห็นว่าประเภทของความผิดในฐานจำหน่ายนั้นได้มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากสาเหตุที่ ยาเสพติดนั้นหาสามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่มีการจำกัดช่วงอายุ มีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางและ รวดเร็ว สามารถสร้างรายได้ที่เกิดจากการค้ายาเสพติดในแต่ละครั้งได้มากกว่าการทำงานตามค่าจ้าง แรงงานรายวันหรือสูงกว่าอาชีพอื่นๆ ซึ่งอาจจะทำได้ง่าย รวยได้เร็วและสามารถนำเงินที่ได้จากการ จำหน่ายยาเสพติดมาสนองความต้องการในการใช้สอยในชีวิตประจำวันหรือซื้อรถยนต์ บ้าน ทองคำ รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่ต้องการ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานกรมราชทัณฑ์ เจ้าหน้าที่กรม คุมประพฤติและกลุ่มผู้มีความชำนญด้านกฎหมายเองนั้นพบว่าปัจจัยที่ทำให้ผู้ต้องขังส่วนใหญ่กลับมา ก่อการกระทำความผิดซ้ำมากที่สุดคือ ปัจจัยทางด้านการเงินและครอบครัวเนื่องจากสภาพทางการ เงินที่ไม่มีความคล่องตัว หน้าที่การงานและรายได้ที่ไม่มีความมั่นคง ปัญหาภายในครอบครัวที่ขาดการ เอาใจใส่ ครอบครัวที่มีปัญหาทะเลาะวิวาทบ่อยครั้ง สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ที่แออัดและยากจน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3