2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
73 1.พ้นโทษ เนื่องจากครบกำหนดโทษตามคำพิพากษา 2.พักโทษ เป็นการปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดออกมาอยู่ นอกเรือนจำก่อนครบกำหนดโทษภายใต้เงื่อนไขคุมประพฤติ โดยโทษจำคุกตามคำพิพากษาเดิมยังเหลืออยู่ 3.การได้รับพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวภายใต้การพักการลงโทษเป็นผู้ที่ได้รับการปล่อย ภายใต้เงื่อนไขการพักโทษจะมีหน่วยงานคุมของประพฤติที่ดูแลเพื่อจะป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำ ได้ แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวโดยครบกำหนดโทษและการได้รับอภัยนั้นกลับพ้นโทษออกสู่ อิสระและไม่มีเงื่อนไขใดให้ต้องปฏิบัติหลังจากการปล่อยตัวและเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่อาจ มีอำนาจเข้าไป ติดตามเฝ้าระวังผู้ที่เคยกระทำความเหล่านี้ได้เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำผิดซ้ำในภายหลัง และใน พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 ในมาตรา 67 ได้กล่าวว่า เมื่อจะปล่อยตัวผู้ต้องขังนั้นให้เรียกคืน ทรัพย์สินที่เป็นของทางราชการ จ่ายเครื่องแต่งกายให้ตามที่กรมราชทัณฑ์กําหนด สําหรับผู้ต้องขังที่ ไม่มีเครื่องแต่งกายที่จะแต่งออกไปจากเรือนจํา ทําหลักฐานการปล่อยตัว ให้ทางกรมราชทัณฑ์คืน ทรัพย์สินของผู้ต้องขังให้แก่ผู้ต้องขัง รวมทั้งเงินรางวัลและเงินทําขวัญและออกใบสําคัญการปล่อย นักโทษเด็ดขาดที่พ้นโทษ แต่ไม่มีการกล่าวถึงในส่วนของการพ้นโทษของผู้ตัองขังที่ได้รับการปล่อยตัวแล้ว นั้นว่าทางกรมราชทัณฑ์จะมีการกำกับดูแลสอดส่องในลักษณะใดเพื่อมิให้ผู้พ้นโทษเหล่านั้นหวนกลับมา กระทำความผิดซ้ำอีก เมื่อศึกษาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติดนั้นตามประมวล กฎหมายยาเสพติดในมาตรา 118 ได้กำหนดให้ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมติดตาม ดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่ผู้เข้ารับการบำบัดรักษา เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดรักษา ได้รับการฟื้นฟูสภาพทางสังคม โดยได้รับบริการด้านสวัสดิการสังคม การสังคมเท่าที่จำเป็นและ เหมาะสม รวมทั้งช่วยเหลือสนับสนุนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว เพื่อให้บุคคลดังกล่าว สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ โดยไม่กลับมากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีก ซึ่งประมวลกฎหมายยาเสพ ติดในมาตรา 108 รวมถึงในมาตรา 113 ถึง มาตรา 117 นั้นได้มีการกล่าวถึงเฉพาะผู้ที่มีความผิดฐาน เสพยาเสพติดและผู้ที่มีความผิดฐานครอบครองเพื่อเสพเท่านั้น ที่กำหนดให้มีศูนย์ฟื้นฟูหรือหน่วยงานใน การติดตามดูแล สอดส่องแต่กลับไม่ได้มีการพูดถึงในฐานความผิดในกลุ่มของผู้จำหน่าย ครอบครองเพื่อ จำหน่าย นำเข้า ส่งออก ผลิตและอื่นๆ จากสถิติการนักโทษเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดฯ จำนวนนักโทษในรวมประเภทจำหน่าย (จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย ผลิต นำเข้า อื่นๆ ) คิดเป็นร้อยละ 84.41 ซึ่งมีจำนวนนักโทษมากกว่าในประเภทคดี รวมประเภทเสพ (เสพ ครอบครอง เสพและครอบครอง) คิดเป็นร้อยละ 14.75 ซึ่งกลุ่มของผู้จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย ผลิต นำเข้าและอื่นๆ กลุ่มผู้กระทำความผิดเหล่านี้เป็นกลุ่ม เล็ก ๆ ที่กำเนิดเกิดเป็นต้นตอของปัญหายา เสพติดในวงกว้างอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ทำให้เกิดผู้เสียหายในวงกว้างได้ในปัจจุบัน ตลอดจนอนาคต แต่กลับไม่ได้รับการแก้ไขที่เข้มงวดตั้งแต่ต้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ากลไกในการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3